Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1241
Title: มาตรการปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบาย
Other Titles: Measures to suppress policy corruption
Authors: ธีรเดช มโนลีหกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศาสตรา อ่อนรัศมี, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง -- ไทย
นักการเมือง -- ไทย -- การทุจริต
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตเชิงนโยบาย 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ ปัญหาการปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายทั้งทางด้านกฎหมายและระเบียบวิธีการที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายไทย 3) เปรียบเทียบกฎหมายและระเบียบวิธีการเพื่อปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศไทย กับต่างประเทศ 4) นําผลจากการวิเคราะห์มาสังเคราะห์เป็นแนวทางเพื่อทราบถึงการปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายให้สอดคล้องกับความจําเป็นในการดําเนินกระบวนการยุติธรรม วิทยานิพนธ์เรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิจัยทางเอกสารจากตํารา บทความ วิทยานิพนธ์ ตัวบทกฎหมาย โดยการนํารูปแบบของกฎหมายต่างประเทศมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายไทย ผลการศึกษาพบว่า 1) กลไกในการบังคับใช้กฎหมายมีความเป็นอิสระ 2) โดยผู้ที่ต้องถูกบังคับตาม กฎหมายเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ อันเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง 3) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกนและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มีบทบัญญัติความผิดครอบคลุม ได้นําหลักอายุความสะดุดหยุดอยู่ ใช้บังคับกรณีหลบหนีจากกระบวนการยุติธรรม, บทกำหนดโทษ ความผิดมีความรุนแรง 4) มีมาตรการตามบทบัญญัติการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม 5) มีการบัญญัติมาตรการคุ้มครองพยานและการกันบุคคลหรือผู้ถูกกล่าวหาเป็นพยานโดยไม่ดําเนินคดี รวมถึง 6) มีมาตรการเกี่ยวกับทรัพย์สิน การขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 อันเป็นการสอดคล้องตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ.2003 ที่เป็นหลักให้รัฐภาคีดําเนินการเป็นแนวทาง และสอดคล้องกับกฎหมายของต่างประเทศที่ นํามาศึกษาเปรียบเทียบ ข้อเสนอแนะของงานวิจัยครั้งนี้คือ 1) เห็นควรกำหนดอัตราผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ หรือการตรวจสอบโครงสร้างในการตรวจโครงการขนาดใหญ่ และหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเป็นฝ่ายใช้กาลังในการปฏิบัติงานให้ขึ้นตรงกับสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 2) ควรมีการปรับปรุงพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 ในประเด็นของการกระทําความผิดตาม บทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้ที่เกิดนอกราชอาณาจักร ให้สามารถนําพระราชบัญญัติฉบับนี้บังคับใช้ในราชอาณาจักรได้ รวมถึง 3) การบัญญัติมาตรการลงโทษแก่ผู้กระทําความผิดให้มีการริบทรัพย์สินเป็นจํานวนเท่าของมูลค่าความเสียหาย เพื่อเป็นมาตรการปราบปรามทางทรัพย์สิน อันเป็นมูลเหตุจูงใจหลักของการตัดสินใจกระทําการทุจริต คอร์รัปชัน
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1241
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib161723.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons