กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1246
ชื่อเรื่อง: เจ้าพระยานครศรีธรรมราชในความสัมพันธ์กับราชธานีหัวเมืองภาคใต้และหัวเมืองมลายู (พ.ศ. 2327-2435)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationships between Chao Phaya Nakorn Si Dhammaraj and the Capital - Southern States and Southern Malaya States (B.E. 2327 - 2435)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มัลลิกา มัสอูดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิยนาถ บุนนาค, อาจารย์ที่ปรึกษา
นรีนันท์ มรรคดวงแก้ว, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
นครศรีธรรมราช--ประวัติศาสตร์
ไทย--การเมืองและการปกครอง--กรุงรัตนโกสินทร์--รัชกาลที่ 5, 2327-2435
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บริบททางการเมือง การปกครอง และเศรษฐกิจของ เมืองนครศรีธรรมราช ที่มีความสัมพันธ์กับราชธานี หัวเมืองภาคใต้และหัวเมืองมลายู ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้นระหว่าง พ.ศ. 2327 -2435 (2) สถานภาพ บทบาท ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารราชการแผ่นดินของ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช สมัยก่อนการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 (3) การบริหารราชการ แผ่นดินของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ทั้ง 4 ท่าน คือ เจ้าพระยานครฯ (พัฒน์) เจ้าพระยานครฯ (น้อย) เจ้าพระยานครฯ (น้อยกลาง) และเจ้าพระยานครฯ (หนูพร้อม) ที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับราชธานี หัวเมืองภาคใต้และหัวเมืองมลายูการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ ทั้งข้อมูลเอกสารชั้นต้น คือสารตราแต่งตั้งเจ้าพระยานครฯ และเอกสารชั้นรอง คือหนังสือและวิทยานิพนธ์ โดยวิธีการทาง ประวัติศาสตร์ นำมาวิเคราะห์ ตีความ เรียบเรียงและนำเสนอในรูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า (1) เมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองสำคัญ คือ เป็นหัวเมืองเอก เป็นตัวแทน ของราชธานี ในการดูแลหัวเมืองภาคใต้ และหัวเมืองมลายู และเป็นเมืองท่ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึง สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (2) เจ้าพระยานครศรีธรรมราชมีลักษณะความเป็นผู้นำ ทำให้เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย เป็นผู้แทนของราชธานีดูแลปกครองเมืองนครศรีธรรมราช และหัวเมืองต่าง ๆ ในภาคใต้ให้สงบเรียบร้อย ดูแล ด้านเศรษฐกิจและเป็นผู้เจรจากับตัวแทนรัฐบาลอังกฤษที่กำลังขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนมลายูก่อนที่เฮนรี เบอร์นีจะเข้ามาเจรจากับรัฐบาลไทยที่ราชธานี (3) การบริหารของเจ้าพระยานครฯ พบปัญหาความขัดแย้งด้าน เชื้อชาติ ศาสนา และอื่น ๆ หลายประการ กับหัวเมืองภาคใต้และหัวเมืองมลายู แต่จะเห็นได้ว่าเจ้าพระยานครฯ ทั้ง 4 ท่าน เป็นบุคคลในตระกูลเดียว คือ ตระกูล ณ นคร ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนเลยว่าคนในตระกูลเดียวกันจะ เป็นเจ้าเมืองสืบต่อกันมาร่วมร้อยกว่าปี แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ความ จงรักภักดี และเป็นที่ไว้วางใจของราชธานี ในการดูแลหัวเมืองต่าง ๆ ทางภาคใต้ และหัวเมืองมลายู ซึ่งเป็น ประเทศราชของสยาม สืบมาจนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นมณฑล เทศาภิบาล บทบาทของเจ้าพระยานครฯ จึงยุติลง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1246
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (17).pdfเอกสารฉบับเต็ม29.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons