กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12473
ชื่อเรื่อง: ความสุขในการทำงานของพนักงานกองระบบควบคุมโรงไฟฟ้าพลังความร้อนและพลังงานน้ำ ฝ่ายบำรุงรักษาไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่จังหวัดนนทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Work happily of employees at Thermal & Hydro Power Plant Control System Department, Electrical Maintenance Division, Electricity Generating Authority of Thailand Head Office Nonthaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิ่งพร ทองใบ
กรกฤษณ์ สุขไสว, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนและพลังงานน้ำ. ฝ่ายบำรุงรักษาไฟฟ้า --พนักงาน
ความสุข
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
การทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ระดับความสุขในการทำงาน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับความคิดห็นต่อปัจจัยลักษณะงาน และต่อภาพรวมความสุขในการทำงาน3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะงานกับระดับความคิดเห็นต่อภาพรวมความสุขในการทำงาน ของพนักงานกองระบบดวบคุมโรงไฟฟ้าพลังความร้อนและพลังน้ำ ฝ่ายบำรุงรักษาไฟฟ้า การไฟฟ้ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงามใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ประชากรในการศึกษาได้แก่พนักงานกองระบบควบคุมโรงไฟฟ้าพลังความร้อนและ พลังน้ำฝ่ายบำรุงรักษาไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ จังหวัดนนทบุรี จำนวนทั้งสิ้น 70 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ข้อมูลที่ใช้นำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉสี่ย ค่าแจกแจงแบบที การวิเคราะห์ดวามแปรปรวน การเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ และการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้น จากผลการศึกษาพบว่า 1) พนักงานกองระบบควบคุมโรงไฟฟ้าพลังความร้อนและพลังน้ำ ฝ่ายบำรุงรักษาไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ จังหวัดนนทบุรี มีระดับความสุขในการทำงาน ทั้ง 3 มิติ ได้แก่ ความรื่นรมย์ในงาน ความพึงพอใจในงาน และความกระตือรือร้นในการทำงาน อยู่ในระดับสูง 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับตำแหน่งงาน และระยะเวลาการทำงานในองค์การ มีความสัมพันธ์กับปัจจัยลักษณะงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% แต่ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับภาพรวมความสุขในการทำงาน 3) ปัจจัยลักษณะงานทั้งห้าด้านมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับภาพรวมความสุข ในการทำงาน โดยมีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ 0.782 และภาพรวมความสุขในการทำงานจะผันแปรตามปัจจัยทั้งห้าด้าน คิดเป็นร้อยละ 61.2 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 38.8 เป็นผลมาจากปัจจัยในด้านอื่นๆ ซึ่งมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยลักษณะงานอยู่ในระดับเห็นด้วยกับทุกปัจจัย ทั้งด้านคำนิยมร่วมขององค์กร ด้านความรักในงาน ด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน ด้านความสัมพันธ์ในที่ทำงาน และด้านผู้นำ ตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12473
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_129170.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons