กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12481
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดในโรงงานผลิตแป้งขนมจีน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Implementation of clean technology for Thai vermicelli factory
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปีติ พูนไชยศรี
วรรยา พุทธิรัตน์, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
เทคโนโลยีสะอาด
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: ในปัจจุบันการผลิตเส้นขนมจีนผู้ผลิตมีการปรับเปลี่ยนการใช้วัตถุดิบจากปลายข้าว ที่ต้องหมักเองเป็นการใช้แป้งหมักขนมจีนที่ผลิตมาจากโรงงานแป้งขนมจีน ซึ่งโรงงานผลิตแป้งขนมจีนมีการใช้ทรัพยากรหลักคือ ปลายข้าว น้ำ และในขั้นตอนของการผลิตจะมีการปล่อยของเสียต่างๆ คือ เศษปลายข้าว เศษแป้ง และน้ำเสียซึ่งประกอบด้วยสารอินทรีย์ที่ค่อนข้างสูง หากการจัดการไม่เหมาะสมอาจทำให้ทรัพยากรถูกใช้ไปอย่างไม่คุ้มค่าทำให้มีต้นทุนการผลิตสูง และของเสียที่เกิดขึ้นอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสาเหตุการสูญเสียทรัพยากรในโรงงานผลิตแป้งขนมจีนโดยใช้หลักการของเทคโนโยีสะอาด (2) ลดค่าใช้จ่ายของโรงงานตัวอย่างในด้าน ค่าน้ำประปา การสูญเสียวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์ในกระบวนการผลิตเมื่อนำหลักการของเทคโนโลยีสะอาดไปประยุกต์ใช้ โดยการศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงกึ่งทดลอง ประยุกต์ใช้หลักและวิธีการตามคู่มือของการดำเนินงานค้านเทคโนโสยีสะอาดที่เป็นที่ยอมรับนำไปสู่การปฏิบัติจริงในโรงงานผู้ผลิตแป้งขนมจีน จำนวน 1 โรงงาน ใช้ดัชนีชี้วัดการประเมินทางสิ่งแวล้อมด้านวัตถุดิบและทรัพยากรต่าง ๆ ที่ โรงงานใช้ต่อหน่วยวัตถุดิบเป็นตัวชี้วัดเปรียบเทียบในช่วงก่อนดำเนินการศึกษาและหลังการศึกษาผลการศึกษาพบว่า (1) สาเหตุการสูญเสียทรัพยากรของจุดต่างๆในกระบวนการผลิตมาจาก 2 สาเหตุคือ วิธีปฏิบัติ และเทคโนโลยี (2) หลังการประยุกต์ใช้เทคโนโสยีสะอาดโรงงานสามารถลดปริมาณการใช้น้ำประปา ต่อตันวัตถุดิบจาก 23.8 ลบ.ม.ตันปลายข้าว ลดลงเหลือ 13.0 ลบ./ตันปลายข้าว ทำให้โรงงานสามารถประหยัดค่าน้ำประปาได้ 97.20 บาททุกการผลิต 1 ตันปลายข้าว และ สามารถลดปริมาณแป้งสูญเสียไปกับน้ำทิ้งจาก 62 กิโลกรัม/ตัน ปลายข้าว ลดลงเหลือ 43 กิโลกรัม/ตันปลายข้าว สามารถลดมูลค่าการสูญเสียลงได้ 237.50 บาททุกการผลิต 1 ตันปลายข้าว โดยเป็นยอดรวมค่าใช้ง่ายที่ลดลงได้ทุกการผลิต 1 ตันปลายข้าวเท่ากับ 334.7 บาท หากโรงงานผลิตโดยใช้ปลายข้าว 24 ตันเดือน จะสามารถลดมูลค่าการสูญเสียลงได้ 8,032.4 บาท/เดือน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12481
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_127191.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons