กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12500
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณเตือนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of using nursing practice guidelines based on "modified early warning scores" for Patients with Sepsis in the Medical Department at Phetchabun Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย
ดาวเรือง บุญจันทร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --การศึกษาเฉพาะกรณี
การพยาบาลอายุรศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน และอัตรา การเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณ เตือน ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ (2) เปรียบเทียบอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน และอัตราการ เสียชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด กลุ่มก่อนและกลุ่มหลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบ บันทึกสัญญาณเตือน และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลกลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ (1) ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดกลุ่มก่อนและกลุ่มหลังมีการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณเตือน กลุ่มละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 60 คน และ(2) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่ายอายุรกรรมหญิง ที่ให้การพยาบาลผู้ป่วยโดยการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณเดือนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และแบบสอบถามความพึงพอใจ แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณเตือนมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.97 และค่าความสอดคล้องภายใน เท่ากับ 0.90 ส่วนแบบสอบถามความพึงพอใจมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.87และค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัต เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแคว์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณเตือนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 26.7 และไม่มีอัตราการเสียชีวิต (2) ผู้ป่วยก่อนมีการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณเตือนมีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนสูงกว่าผู้ป่วยหลังมีการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณเดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิดิ (p < .01) และ (3) ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12500
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_140789.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons