Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12507
Title: | ประสิทธิผลการประยุกต์ใช้ทฤษฎีลีนในระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ |
Other Titles: | Effectiveness of applying lean theory for the out-patient nursing service system at Prachuap Khiri Khan Hospital |
Authors: | ศรีนวล โอสถเสถียร นฤมล วัลลภวรกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--การศึกษาเฉพาะกรณี โรงพยาบาลประจวบคิรีขันธ์ การบริการพยาบาล ประสิทธิผลองค์การ ผู้ป่วยนอก--ประจวบคีรีขันธ์.--ไทย การศึกษาอิสระ--การบริหารการพยาบาล |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยนำทฤษฎีลีนมาประยุกต์ในระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาและขั้นตอนการให้บริการพยาบาลผู้ป่ายนอก ก่อนและหลังการประยุกต์ใช้ทฤษฎีลีน และศึกษาความพึงพอใจต่อการให้บริการของผู้รับบริการและบุคลากรทางการพยาบาลหลังการประยุกต์ใช้ทฤษฎีลีน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้รับบริการจำนวน 441 ราย ที่ได้มาจากการสุ่มแบบบังเอิญระหว่างเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม 2555 และบุคลากรทางการพยาบาลผู้ป่วยนอก จำนวน 12 ราย เครื่องมือที่ใช้ประเมินผล ประกอบด้วย แบบบันทึกระยะเวลาและขั้นตอนการบริการพยาบาล และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการและบุคลากรทางการพยาบาลได้ผ่านการตรวจความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ราย นอกจากนี้แบบสอบถามความพึงพอใจยังได้ผ่านการทดสอบความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของคอนบราค ได้ค่า .923 และ .934 ตามลำดับ สำหรับสถิติที่ ใช้วิเคราะห์ ข้อมูลการประเมินผลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที่แบบเป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยนอกด้วยทฤษฎีลืนสามารถขจัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น และรวมขั้นตอนเข้าด้วยกัน ส่งผลให้ระยะเวลาเฉลี่ยในการให้บริการหลังการประยุกต์ใช้ทฤษฎีลีนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 44.37 นาทีเหลือ 35.15 นาทีในคลินิกโรคทั่วไป และ 29.00 นาทีในคลินิกศัลยกรรม สำหรับความพึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ในระดับมากส่วนความพึงพอใจของผู้ให้บริการก็อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการใช้ทฤษฏลีนสามารถลดความล่าช้า ความสับสนในขั้นตอนบริการพยาบาล |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12507 |
Appears in Collections: | Nurse-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_130794.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License