Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12510
Title: คุณภาพบริการตามการรับรู้ของผู้รับบริการที่คลินิกตา แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
Other Titles: Quality of service as perceived by clients at eye clinic of the Outpatient Department Somdejphajaotaksinmaharaj Hospital pital
Authors: เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย
นิตยา สุวรรณาภรณ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แผนกผู้ป่วยนอก
ความพอใจของผู้ใช้บริการ
การบริการทางการแพทย์
การศึกษาอิสระ--การบริหารการพยาบาล
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพบริการตามการรับรู้ของผู้รับบริการที่คลินิกตา แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 2) เปรียบเทียบคุณภาพบริการตามการรับรู้ของผู้รับบริการที่คลินิกตา แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ระหว่างกลุ่มที่มีอายุระดับการศึกษา และจำนวนครั้ง การเข้ารับบริการแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้รับบริการที่คลินิกตา แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จำนวน 390 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามคุณภาพบริการที่ดัดแปลงมาจาก SERVQUAL ของพาราสุรามานและคณะ ผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้ค่าความตรงเท่ากับ 0.9 และทดสอบความเชื่อมั่น ได้ค่าสัมประสิทธิแอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบครัสกล-วอลลิส ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับคุณภาพการบริการโดยรวมตามการรับรู้ของผู้รับบริการที่ คลินิกตา แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อยูในระดับมาก (X=4.43 SD=0.72) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเห็นอกเห็นใจ ด้านการตอบสนองต่อ ผู้รับบริการ และด้านการสร้างความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ อยู่ในระดับมาก สำหรับด้านความน่าเชื่อถือในการให้บริการและด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการมีการรับรู้คุณภาพบริการในระดับมากที่สุด 2) ผู้รับบริการที่มีอายุ และจำนวนครั้งการเข้ารับบริการแตกต่างกัน มีการรับรู้ คุณภาพบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผู้รับบริการที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีการรับรู้คุณภาพบริการแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12510
Appears in Collections:Nurse-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_137483.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.53 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons