Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12543
Title: ผลของการใช้รูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลที่เน้นกระบวนการพยาบาลต่อคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลโรงพยาบาลชะอำ
Other Titles: Effects of utilizing a nursing record model focused on the nursing process on quality of the nursing record at Cha-Am Hospital
Authors: อารี ชีวเกษมสุข
พะเนือง วะชังเงิน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --การศึกษาเฉพาะกรณี
บันทึกการพยาบาล
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการบันทึกที่เน้นกระบวนการพยาบาลและรูปแบบการบันทึกเดิม และ2) เปรียบเทียบคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลระหว่างการใช้รูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลที่เน้นกระบวนการพยาบาลและรูปแบบเดิม กลุ่มตัวอย่างเป็นแบบบันทึกทางการพยาบาลของผู้ป่วย จำนวน 68 แฟ้ม ที่ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสำรวจปัญหาและอุปสรรคของการบันทึกทางการพยาบาล 2) แบบตรวจสอบคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล (ความครอบคลุมตามกระบวนการพยาบาลเชิงปริมาณความครอบคลุมตามกระบวนการพยาบาลเชิงคุณภาพความถูกต้องตามหลักการบันทึกและความต่อเนื่องของการบันทึก) 3) คู่มือสำหรับการตรวจสอบคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาล1) รูปแบบบันทึกทางการพยาบาลที่เน้นกระบวนการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นและ 5) โครงการประชุมวิชาการเรื่องการใช้รูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาและเครื่องมือส่วนที่ 4 ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.95,0.92.0.92และ 0.99 ตามลำดับวิเคราะห์ ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบของแมนวิทนีย์ยูและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการบันทึกเดิมในด้านความครอบคลุมตามกระบวนการเชิงคุณภาพและด้านความต่อเนื่องของการบันทึกอยู่ในระดับต่ำ ส่วนด้านความครอบคลุมตามกระบวนการพยาบาลเชิงปริมาณและด้านความถูกต้องตามหลักการบันทึกอยู่ในระดับต่ำมากแต่ค่เฉลี่ยของกะแนนคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล โดยการใช้รูปแบบการบันทึกใหม่ทั้ง 4 ด้านเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับดีมาก 2) เมื่อเปรียบเทียบกันพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลจากการใช้รูปแบบการบันทึกใหม่สูงกว่ารูปแบบการบันทึกเดิมทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12543
Appears in Collections:Nurse-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_149974.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.25 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons