กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12552
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of a risk management model for in-patient units at Selaphum Hospital in Roi Et Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล ยุพดี ยิ่งคำแหง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--การศึกษาเฉพาะกรณี โรงพยาบาลเสลภูมิ--การบริหารความเสี่ยง |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาอิสระนีมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยง หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่ (1) ศึกษาสถานการณ์การบริหารความเสี่ยงของหอผู้ป่วยใน โดยการทบทวนวรรณกรรม การทบทวนรายงานอุบัติการณ์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 6 คน (2) พัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเสลภูมิ โดยการสนทนา กลุ่มพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยในจำนวน 8 คน รวม 2 ครั้ง (3) นำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ ในหอผู้ป่วยในเป็นเวลา 4 เดือน ประเมิน และปรับปรุงรูปแบบโดยการสนทนากลุ่มพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยใน และนำเสนอในการประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลเสลภูมิทุก 1 เดือน รวม 4 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลเสลภูมิ จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แนวคำถามในการสัมภาษณ์เจาะลึก และการสนทนากลุ่ม แบบประเมินรูปแบบการบริหารความเสี่ยงของหอผู้ป่วยใน แบบทบทวนการบันทึก รายงานอุบัติการณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลเสลภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการบริหารความเสี่ยงหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเสลภูมิ ประกอบด้วย (1) การดำเนินการให้สามารถบันทึกรายงานอุบัติการณ์ในคอมพิวเตอร์ของหอผู้ป่วย (2) การจัดทำแผนนิเทศติดตามและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการจำแนกความเสี่ยงและวิธีการ บันทึก (3) การมอบหมายผู้บันทึกรายงานอุบัติการณ์ในระบบ 4) จัดทำแนวทางการบันทึก และ 5) การกำหนดแนวการทบทวนรายงานอุบัติการณ์ หลังการทดลองใช้รูปแบบ พบวา มีการระบุชื่อ เหตุการณ์ และสถานที่เกิดเหตุครบถ้วนร้อยละ 100 และการบันทึกวัน เวลาที่เกิด ของหอผู้ป่วยในหญิงเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 72.7 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12552 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_140787.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.9 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License