กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12590
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพการดำเนินงานของกองทุนรวมอีทีเอฟ และกองทุนรวมตราสารทุน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The comparative analysis of operational efficiency of Exchange Traded Funds and Equity Funds
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิทักษ์ ศรีสุขใส
ดุลยพงษ์ ชยุตพงค์พันธุ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อดิเรก วัชรพัฒนกุล
คำสำคัญ: กองทุนรวม
ตราสารทุน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)วิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานของกองทุนรวมดัชนีที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (อีทีเอฟ) 2) วิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานของกองทุนรวมตราสารทุน 3) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการดำเนินงานของกองทุนอีทีเอฟกับกองทุนรวมตราสารทุนและ 4)พยากรณ์อัตราผลตอบแทนรายวันของกองทุนอีทีเอฟและกองทุนรวมตราสารทุนด้วยแบบจำลองที่เหมาะสม การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ได้นำเครื่องมือที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพของการดำเนินงานของกองทุนรวมที่นิยมใช้กัน มาเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ประกอบด้วย 1)Information Ratio 2) Sortino Ratio 3)Tracking Error 4)Sharpe Ratio 5)Treynor Ratio 6) Jensen's Alpha และ7) ARIMA Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ อีทีเอฟจำนวน 13 กองทุน และกองทุนรวมตราสารทุนจำนวน 20 กองทุน ซึ่งกองทุนดังกล่าวมีนโยบายลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นหลัก โดยเก็บข้อมูลรายวันย้อนหลังในการศึกษา ตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 - เดือนธันวาคม 2562 ผลการวิจัยพบว่า 1) กองทุนรวมอีทีเอฟที่มีประสิทธิภาพการดำเนินงานสูงกว่า ตลาด ประกอบด้วย 4 กองทุนจากทั้งหมด 13 กองทุน 2) กองทุนรวมตราสารทุนที่มีประสิทธิภาพการดำเนินงานสูงกว่าตลาด ประกอบด้วย 5 กองทุน จากทั้งหมด 20 กองทุน 3) ผลการประมาณค่าจากแบบจำลองพบว่า กองทุนรวมอีทีเอฟ มีประสิทธิภาพการดำเนินงานสูงกว่ากองทุนรวมตราสารทุน 4) ผลการพยากรณ์อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยล่วงหน้าของกองทุนรวมอีทีเอฟ 13 กองทุน พบว่ามี9 กองทุนที่มีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยล่วงหน้า 30 วัน สูงกว่าอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย และมีเพียง 4กองทุนที่มีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยล่วงหน้า 30 วัน ต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยในช่วงเวลาที่ศึกษา และยังพบว่า มีกองทุนรวมตราสารทุนจำนวน 7 กองทุนที่อัตราผลตอบแทนรายวันล่วงหน้า30 วันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมีจำนวน 13 กองทุนที่มีอัตราผลตอบแทนรายวันมีแนวโน้มลดลง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12590
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม39.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons