กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12612
ชื่อเรื่อง: การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Conflicts between personal interest and public interest. according to the Organic Act on Anti-Corruption B.E. 2561 (2018)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศาสดา วิริยานุพงศ์
กาญจน์บัณฑิต สนนุช
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: การขัดกันแห่งผลประโยชน์
พระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม (2) ศึกษาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (3) ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายของไทยและของต่างประเทศที่เกี่ยวกับการป้องกันการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม (4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงและแก้ไข กฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งผลประโยชน์ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็ นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร จากกฎหมาย เอกสารทางวิชาการ ได้แก่ หนังสือ ตำรา บทความ วิทยานิพนธ์ รวมถึงเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เอกสารทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า (1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 128 ไม่มีการระบุถึงการห้ามคู่สมรสรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดไว้ด้วย (2) ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าพนักงานของรัฐ พ.ศ. 2563กำหนดคำนิยามของ ญาติ ไม่ครอบคลุมถึงคู่สมรสที่อยู่กินฉันสามีภรรยาด้วย (3) มูลค่าทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่กำหนดให้เจ้าพนักงานของรัฐรับได้ตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าพนักงานของรัฐ พ.ศ. 2563 ที่กำหนดให้รับได้ซึ่งมีมูลค่าไม่เกินสามพันบาท ซึ่งจำนวนสามพันบาทเป็นจำนวนที่มากเกินไปจนอาจเป็นช่องทางก่อให้เกิดการทุจริตได้ (4) กฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษไม่ได้มีการกล่าวถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากญาติ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12612
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons