Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1263
Title: | การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ในการจัดบริการสารสนเทศของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล |
Other Titles: | User participation in information services of Private University Libraries in Bangkok Metropolis and the Vicinities |
Authors: | น้ำทิพย์ วิภาวิน สรวีย์ ตั้งวงศ์ถาวรกิจ, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา--ไทย--บริการสารสนเทศ |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ในการจัดบริการสารสนเทศของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ในการจัดบริการสารสนเทศของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (3) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ในการจัดบริการสารสนเทศ ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ (4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ในการจัดบริการสารสนเทศของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คืออาจารย์ และ นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 21 แห่ง ในปี การศึกษา 2557 จำนวน 222,854 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายได้กลุ่มตัวอย่างจ านวน 384คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ในการจัดบริการสารสนเทศของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̅=2.97) โดยมีส่วนร่วมในกิจกรรมบริการการอ่านในระดับมาก (x̅=3.43) รองลงมาคือการมีส่วนร่วมในเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ของห้องสมุด (x̅=3.20) (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ในการจัดบริการสารสนเทศมี 3 ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยด้านการวางแผนกิจกรรม ปัจจัยด้านการบริการ และปัจจัยด้านประโยชน์ที่ได้รับ พบว่าทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในทางบวกโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ใช้จ าแนกตามสถานภาพและระดับการศึกษา พบว่าแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 แต่ผลการเปรียบเทียบรายคู่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติส่วนการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ใช้จำแนกตามความถี่ในการใช้ พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและ (4) ปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของผู้ใช้โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ด้านการบริหาร (x̅=2.61) ด้านผู้ใช้(x̅=2.61) และด้านผู้ให้บริการ (x̅=2.48) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1263 |
Appears in Collections: | Arts-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext (24).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License