กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12645
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงานแผนกพัฒนาซอฟแวร์ บริษัทแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting resignation of software development employees in a company at Bangkok Metropolis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิ่งพร ทองใบ
ก้องเดช มีเดช, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
พนักงานบริษัท--การลาออก
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตัดสินใจลาออกของพนักงานแผนกพัฒนาซอฟแวร์ของบริษัท เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการตัดสินใจลาออกของพนักงาน แผนกพัฒนาซอฟแวร์ของบริษัท และเพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการเพื่อธำรงรักษาพนักงาน แผนกพัฒนาซอฟแวร์ของบริษัท ประชากรในการศึกษา คือ พนักงานในแผนกพัฒนาซอฟแวร์ของบริษัทแห่งหนึ่ง สำนักงานสาขากรุงเทพมหานคร ประเทศไทย จำนวน 102 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 81คน ด้วยวิธีของทาโรยามาเน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม มีระยะเวลาการเก็บข้อมูล คือ ระหว่างวันที่ 20 พฤษภาคม – 6 มิถุนายน 2559 ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การหา ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแปรปรวน ผลการศึกษา พบว่า (1) ในภาพรวมพนักงานมีระดับความพึงพอใจในสถานการณ์การ ทำงานปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยส่วนบุคคล ของพนักงานที่ต่างกันมีผลต่อแนวโน้ม ระดับ และความถี่ในการตัดสินใจลาออกไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านตำแหน่งงานของ พนักงานที่ต่างกันมีผลต่อระดับในการตัดสินใจลาออกแตกต่างกัน (3) ปัจจัยลักษณะงาน ทั้ง 5 ด้าน ของพนักงาน พบว่า มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการตัดสินใจลาออกทั้ง 3 ด้าน ยกเว้นปัจจัยลักษณะงานด้านรายได้กับสวัสดิการที่ไม่มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มในการตัดสินใจลาออก (4) ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทควรให้ความสำคัญกับความเห็นของพนักงาน ในด้านความสัมพันธ์ต่อองค์การ ความสัมพันธ์ต่อพนักงาน ลักษณะและปริมาณงาน ความก้าวหน้าและความมั่นคง เป็นหลัก ส่วนในด้านรายได้และสวัสดิการ ควรเน้นผลตอบแทน ทางอ้อมที่ไม่ใช่ตัวเงินมากขึ้น เพื่อลดอัตราการลาออกของพนักงานในอนาคต
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12645
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_150178.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons