กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12663
ชื่อเรื่อง: การผลิตข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Rice production according to good agricultural practice standard of rice farmers in Mueang district of Mahasarakham Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พลสราญ สราญรมย์
สุพัตรา คำศิริรักษ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
คำสำคัญ: ข้าว--ไทย--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพทางเศรษฐกิจและสภาพสังคมของเกษตรกร 2) ทัศนคติและแรงจูงใจในการผลิตข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 3) ความรู้และการปฏิบัติในการผลิตข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรมากกว่าครึ่งเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 53.94 ปี ส่วนมากจบการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพหลัก คือ ทำนา และอาชีพรองคือรับจ้างทั่วไป จำนวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 4.26 คน จำนวนแรงงานในครัวเรือน เฉลี่ย 2.60 คน พื้นที่ทำการเกษตรของตนเอง เฉลี่ย 11.79 ไร่ เป็นพื้นที่เช่าทำนาเฉลี่ย 12.20 ไร่ ร้อยละ 79.3 มีหนี้สิน หนี้สินในภาคการเกษตร เฉลี่ย 91,634.45 บาท และหนี้สินนอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 183,075.38 บาท ร้อยละ 77 กู้ยืมเงิน โดยร้อยละ 65.8 กู้ยืมมาจากกองทุนหมู่บ้าน และร้อยละ 58.5 กู้ยืมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร รายได้ในภาคการเกษตรต่อปี เฉลี่ย 82,304.35 บาท และรายได้นอกภาคการเกษตรต่อปี เฉลี่ย 74,671.61 บาท 2) เกษตรกรมีทัศนคติเรื่องการผลิตข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับมากที่สุดคือ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ระดับมากคือ ทำให้สุขภาพดี มีรายได้เพิ่มขึ้นต้นทุนไม่สูง ตลาดรับซื้อแน่นอน และขั้นตอนการผลิตไม่ยุ่งยาก แรงจูงใจระดับมากที่สุดที่ทำให้เกษตรกรอยากเข้าร่วม คือการที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ 3) เกษตรกรมีความรู้ทุกประเด็นเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ประเด็นการจดบันทึก เกษตรกรมีการปฏิบัติน้อยกว่าประเด็นอื่นๆ 4) ปัญหาระดับมากที่สุดคือ ปัจจัยการผลิตมีราคาแพง ระดับมากคือ การขาดแคลนเงินทุน การขาดแคลนเครื่องจักร การไม่มีโรงสีที่ได้มาตรฐาน และการประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ ข้อเสนอแนะ คือ รัฐควรสนับสนุนจัดตั้งโรงสีข้าวชุมชนที่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ รัฐควรจ้างหน่วยงานภายนอกเข้ามาจัดทำเอกสารการจดบันทึกให้แก่เกษตรกรเพื่อการรับรองการผลิตข้าวได้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12663
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons