กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12681
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการส่งเสริมการผลิตกล้วยหอมทองของเกษตรกกรแปลงใหญ่ของจังหวัดชัยภูมิ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension guidelines for the collaborative farms (banana cultivar “Hom Thong”) in Chaiyaphum Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จินดา ขลิบทอง ยุทธนา นาคคำ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ |
คำสำคัญ: | กล้วยหอมทอง--การผลิต การส่งเสริมการเกษตร |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) การผลิตกล้วยหอมทองของเกษตรกรแปลงใหญ่ 3) ปัญหา และข้อเสนอแนะในการผลิตกล้วยหอมทองของเกษตรกร 4) ความต้องการ และแนวทางการส่งเสริมการผลิตกล้วยหอมทองของเกษตรกรแปลงใหญ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 52.4 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 55.51 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.10 คน ได้รับข่าวสารความรู้จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 2) ประสบการณ์ปลูกกล้วยหอมทองเฉลี่ย2.95 ปี พื้นที่ปลูกเฉลี่ย 2.98 ไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 29,174.85 บาทต่อไร่ผลผลิต 3,651.33 กก.ต่อไร่ รายได้ 69,862.05 บาทต่อไร่ เกษตรกรผลิตกล้วยหอมทองโดยส่วนใหญ่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติของเกษตรกร ได้แก่ อายุ ประสบการณ์ และต้นทุนการผลิตเกษตรกรสมัครใจเข้าร่วมกลุ่มและปฏิบัติตามการส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ 3) การปลูกและดูแลรักษามีปัญหาด้านการวางผังแปลงเพื่อคุณภาพผลผลิตที่มีคุณภาพ การจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว ด้านการใช้ภาชนะบรรจุและการขนส่งผลผลิตที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อน และด้านการจัดเก็บบันทึกข้อมูลกระบวนการผลิตการปฏิบัติตามการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ มีปัญหาด้านการพัฒนาเกษตรกรเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง และการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ข้อเสนอแนะของเกษตรกร ควรปลูกกล้วยหอมทองในระยะปลูกที่เหมาะสมเพื่อป้องกันโรคและแมลง ใช้ภาชนะบรรจุที่มีมาตรฐาน และมีโรงเรือนคัดแยกและบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ควรจัดเก็บข้อมูลสมาชิกเพื่อนำมาวางแผนการผลิต พัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่องเป็นแกนนำกลุ่มและขอรับรองมาตรฐานแบบกลุ่ม 4) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมมากกว่าความรู้ที่ได้รับ ในด้านการปลูกและดูแลรักษาให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ การเพิ่มมูลค่าสินค้า และการตลาด ต้องการการส่งเสริมจากหน่วยงานราชการคู่มือ วิดีโอ และอินเตอร์เน็ต ด้วยวิธีการฝึกปฏิบัติและสาธิต แนวทางการส่งเสริมโดยหน่วยงานราชการเป็นหลักบูรณาการทุกภาคส่วน สนับสนุนองค์ความรู้ และปัจจัยการผลิตที่เหมาะสม จัดหาแหล่งเงินทุน และเชื่อมโยงการตลาด |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12681 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.55 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License