กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12703
ชื่อเรื่อง: การจัดการศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Educational management based on the philosophy of sufficiency economy in schools under Si Sa Ket Provincial Office of the Non-formal and Informal Education
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์
สุภมาศ จินาวัลย์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การจัดการศึกษา--ไทย--ศรีสะเกษ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการจัดการศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา (2) เปรียบเทียบการจัดการศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา (3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการจัดการศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 167 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดการศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดศรีสะเกษ ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ การบริหารจัดการสถานศึกษา การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ผลลัพธ์ความสำเร็จ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ (2) ผลการเปรียบเทียบการจัดการศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษาขนาดเล็กแตกต่างกับขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่พิเศษด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา และผลลัพธ์ความสำเร็จ สถานศึกษาขนาดกลางแตกต่างกับขนาดใหญ่ด้านการพัฒนาบุคลากร สถานศึกษาขนาดใหญ่แตกต่างกับขนาดใหญ่พิเศษด้านผลลัพธ์ความสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะพบว่า มีปัญหามากที่สุด คือ ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และด้านผลลัพธ์ความสำเร็จ ข้อเสนอแนะให้สถานศึกษาขับเคลื่อนกิจกรรม/โครงการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ผู้เรียน และประสานเครือข่ายชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12703
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168940.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons