กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12708
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting tourist behavior of Thai tourists in Chonburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ราณี อิสิชัยกุล นภัสชลักษณ์ เอมโคกสูง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | การท่องเที่ยว--ไทย--ชลบุรี นักท่องเที่ยว--พฤติกรรม การท่องเที่ยว--ไทย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เปรียบเทียบระดับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดชลบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (2) ปัจจัยองค์ประกอบแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดชลบุรี และ (3) แรงจูงใจในการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดชลบุรี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เคยเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี กำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแจกแจงแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ สถานภาพ อาชีพและรายได้ ที่แตกต่างกันมีระดับพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่แตกต่างกันในจังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ปัจจัยองค์ประกอบแหล่งท่องเที่ยว ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการบริการ ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดชลบุรี อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดชลบุรี ได้ร้อยละ 33 เมื่อพิจารณาตัวแปรอิสระที่มีอำนาจในการทำนายการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการท่องเที่ยวได้ดีที่สุด คือ การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวก สิ่งดึงดูดใจ และการบริการ ตามลำดับ (3) แรงจูงใจในการท่องเที่ยวได้แก่ แรงจูงใจทางกายภาพ แรงจูงใจทางวัฒนธรรม แรงจูงใจระหว่างบุคคล และแรงจูงใจทางด้านสถานภาพและชื่อเสียง ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดชลบุรี อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดชลบุรี ได้ร้อยละ 42 เมื่อพิจารณาตัวแปรอิสระที่มีอำนาจในการทำนายการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการท่องเที่ยวได้ดีที่สุด คือ แรงจูงใจทางกายภาพ แรงจูงใจทางด้านสถานภาพและชื่อเสียง และแรงจูงใจทางวัฒนธรรม ตามลำดับ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12708 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
168978.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.68 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License