กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1270
ชื่อเรื่อง: ความเข้มแข็งของชุมชนคลองตะเคียน ตำบลคลองตะเคียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ช่วง พ.ศ. 2504-2555
ชื่อเรื่องอื่นๆ: he strength of the Klongtakean Community at Klongkakean Sub-district of PhraNakhon Si Ayutthaya District in PhraNakhon Si Ayutthaya Province in the Period B.E. 2504-2555
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มัลลิกา มัสอูดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปัณฉัตร หมอยาดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
วริฐา ทองไทย, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
ชุมชนคลองตะเคียน (พระนครศรีอยุธยา)
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติความเป็นมาของชุมชนคลองตะเคียน ตําบลคลอง ตะเคียน อําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ( 2) วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ของชุมชนคลอง ตะเคียนตําบลคลองตะเคียน อําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ (3) แนวทางในการสร้างความเข็มแข็งของชุมชนคลองตะเคียนตําบลคลองตะเคียน อําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ เจ้าหน้าที่รัฐ จํานวน 5 คน ผู้นําชุมชน ผู้นําศาสนา จํานวน 10 คนประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนคลองตะเคียนจํานวน 20 คน รวมทั้งสิ้น จํานวน 35 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แล้วนํามาวิเคราะห์ ตีความ เรียบเรียงและนําเสนอในรูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า ( 1) ชุมชนคลองตะเคียน ตําบลคลองตะเคียน อําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นชุมชนเก่าแก่ ที่สันนิษฐานว่ามีตั้งแต่สมัย อยุธยาในอดีตชุมชนนี้เป็นชุมชนชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูที่มาทําการค้าสมัยอยุธยาใช้เป็นสถานที่พํานักพักพิง แต่ปัจจุบันเป็นชุมชนที่มีชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสันติ (2) วิถีชีวิตของประชาชนในชุมชนคลองตะเคียนประกอบไปด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ได้แก่ แขก จีน ญวน มอญ และลาวซึ่งในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์จะมีวิถีการดําเนินชีวิตที่แตกต่างกันออกไปในเรื่องของความเชื่อ วัฒนธรรม และประเพณี และ (3) แนวทางในการสร้างความเข็มแข็งของชุมชนคลองตะเคียน คือ การให้ความสําคัญกับปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยปัจจัยภายในคือ การ ศึกษาการส่งเสริมวัฒนธรรมที่หลากหลาย และการกระจายข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึงส่วนปัจจัยภายนอก คือ การสร้าง ความร่วมมือของคนในชุมชนกับภาครัฐและได้มีส่วนทําให้ชุมชนคลองตะเคียนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขและสันติซึ่งเป็นผลนําไปสู่ความเข็มแข็งของชุมชน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1270
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.83 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons