กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12715
ชื่อเรื่อง: | ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เกมเพื่อพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตด้านการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) กรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of using a guidance activities package with games to develop growth mindset on learning of grade 10 students at Seekan (Wattananunuppathum) School in Bangkok Metropolis |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิรนาท แสนสา เสาวณีย์ ไม่เศร้า มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การแนะแนว--กิจกรรมการเรียนการสอน เกม--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบกรอบความคิดแบบเติบโตด้านการเรียนรู้ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เกมเพื่อพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตด้านการเรียนรู้ และ (2) เปรียบเทียบกรอบความคิดแบบเติบโตด้านการเรียนรู้ของนักเรียนหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เกมกับระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) กรุงเทพมหานคร จานวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโตด้านการเรียนรู้ มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.85 และ (2) ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เกมเพื่อพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตด้านการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เกมเพื่อพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตด้านการเรียนรู้ นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยกรอบความคิดแบบเติบโตด้านการเรียนรู้สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) นักเรียนกลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยกรอบความคิดแบบเติบโตด้านการเรียนรู้หลังการทดลองและระยะติดตามผลไม่แตกต่างกัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12715 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.4 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License