Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12737
Title: การนำกากไขมันจากบ่อดักไขมันมาผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่ง : กรณีศึกษาโรงแรมแกรนด์ฮาวเวิร์ด
Other Titles: Using fat waste from grease traps for briquette production : a case study of Grand Howard Hotel
Authors: ศริศักดิ์ สุนทรไชย
อาณัติ ศรทอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
ไขมัน--การใช้เชื้อเพลิง
แหล่งพลังงานทดแทน
การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำกากไขมันมาผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งโดยการผสมกากไขมัน แกลบ และขี้เลื่อย ด้วยอัตราส่วนต่างๆ กัน และ(2) เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางด้านเชื้อเพลิงอัดแท่ง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลองโดยเก็บกากไขมันแบบทีละเท และเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จากบ่อดักไขมันโรงแรมแกรนด์ฮาวเวิร์ดผสมกับแกลบ และขี้เลื่อยให้เข้ากัน โดยมีอัตราส่วนที่กำหนดคือ 50 : 30 : 20, 50 : 20 : 30 และ 50 : 25 : 25 จากนั้นนำไปอัดแท่ง เพื่อนำไปวิเคราะห์หาปริมาณความชื้น ปริมาณเถ้า ปริมาณสารระเหย ปริมาณคาร์บอนคงตัว ตามมาตรฐานASTM D 7582 และค่าความร้อนที่เกิดขึ้นตามมาตรฐาน ASTM D 5865 ในแต่ละสูตร วิเคราะห์ข้อมูลค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษาพบว่า (1) วัสดุทั้ง 3 ชนิดผสมกันในแต่ละสูตรสามารถอัดเป็นแท่งเชื้อเพลิงได้และมีความหนาแน่นใกล้เคียงกัน และ (2) เมื่อวิเคราะห์คุณสมบัติทางด้านเชื้อเพลิง อัตราส่วนผสมทั้ง 3 สูตรผ่านเกณฑ์คุณสมบัติของเสียอุตสาหกรรมที่สามารถนา มาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง โดยส่วนอัตราผสมกากไขมัน ร้อยละ 50 แกลบ ร้อยละ 30% และขี้เลื่อย ร้อยละ 20 ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด คือ มีค่าความชื้น ร้อยละ 4.94 สารระเหย ร้อยละ 79.35 คาร์บอนคงตัว ร้อยละ 9.85 เถ้า ร้อยละ 5.86 และค่าความร้อนสูง 6131.94 กิโลแคลอรี/กิโลกรัม เชื้อเพลิงอัดแท่งนี้สามารถนา มาใช้งานจริงได้ แต่เหมาะกับงานด้านอุตสาหกรรมด้านเชื้อเพลิงมากกว่าเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้ตามบ้านเรือนหรือร้านอาหาร เนื่องจากมีกลิ่นที่แตกต่างจากถ่านปกติ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12737
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_152081.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.75 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons