Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12748
Title: | การจัดการระบบโลจิสติกส์ของรถหาบเร่อย่างมีส่วนร่วมเพื่อความปลอดภัยด้านอาหารในชุมชนชาติพันธุ์ ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย |
Other Titles: | Participatory management of mobile vendor cart logistics system for food safety among ethnic communities in Thoet Thai Sub-district, Mae Fa Luang District, Chiang Rai Province |
Authors: | ศริศักดิ์ สุนทรไชย สุกัญญา บัวศรี, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วศินา จันทรศิริ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ--วิทยานิพนธ์ อาหาร--มาตรการความปลอดภัย หาบเร่--ไทย--เชียงราย การบริหารงานโลจิสติกส์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ระบบการจัดการโลจิสติกส์ของรถหาบเร่ (2) สำรวจสถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหารของรถหาบเร่ (3) ศึกษาความรู้ การรับรู้และพฤติกรรมด้านอาหารปลอดภัยของผู้จำหน่ายและผู้บริโภคที่เลือกซื้ออาหารจากรถหาบเร่ (4) พัฒนารูปแบบการจัดการระบบโลจิสติกส์แบบมีส่วนร่วมของรถหาบเร่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร และ (5) ศึกษาผลของรูปแบบการจัดการระบบระบบโลจิสติกส์ของรถหาบเร่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหารในชุมชนชาติพันธุ์ ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้จำหน่ายรถหาบเร่จำนวน 9 คน ภาคีเครือข่ายจำนวน 32 คนเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคจำนวน 405 คนสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับระบบโลจิสติกส์ของรถหาบเร่ 2) แบบสังเกตชนิดมีโครงสร้างเกี่ยวกับระบบโลจิสติกส์ของรถหาบเร่ 3) แบบทดสอบความรู้ แบบวัดการรับรู้ด้านอาหารปลอดภัย และพฤติกรรมการจำหน่ายอาหารสำหรับผู้จำหน่ายอาหารรถหาบเร่ 4) แบบทดสอบความรู้ แบบวัดการรับรู้ด้านอาหารปลอดภัย และพฤติกรรมด้านอาหารปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค 5) แบบบันทึกผลการทดสอบความปลอดภัยของอาหาร 6) แบบประเมินมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารของรถเร่ 7) ประเด็นสนทนากลุ่มในการจัดทำรูปแบบการจัดการระบบโลจิสติกส์ของรถหาบเร่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร และ 8) โปรแกรมแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีผลต่อการจัดการระบบระบบโลจิสติกส์ของรถหาบเร่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหารซึ่งมีค่าความเที่ยงระหว่าง 0.86-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า (1) ระบบการจัดการโลจิสติกส์ของรถหาบเร่เริ่มจากการเลือกซื้อ การบรรจุและคัดแยกประเภทอาหาร การจัดเรียงสินค้าบนยานพาหนะ การขนส่งอาหาร การเก็บรักษาอาหาร การคาดการณ์และถนอมอาหาร โลจิสติกส์ย้อนกลับยังไม่มีคุณภาพ ยานพาหนะไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารของรถหาบเร่ (2) ความปลอดภัยด้านอาหารทั้งด้านกายภาพ เคมีและชีวภาพไม่ผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 36.17) (3) ความรู้เกี่ยวกับอาหารปลอดภัยของผู้บริโภคและผู้จำหน่ายอยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพอยู่ในระดับมาก ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารจากรถหาบเร่นาน ๆ ครั้ง ชนิดของอาหารที่เลือกซื้อมีการปนเปื้อนทั้งทางด้านเคมีและชีวภาพ (4) ภาคีเครือข่ายร่วมกันจัดรูปแบบการจัดการระบบโลจิสติกส์ของรถหาบเร่ และนำโปรแกรมแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพไปใช้ทั้งในผู้จำหน่ายและผู้บริโภคเป็นเวลา 6 สัปดาห์ และ (5) ระดับความรู้ และการรับรู้หลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.01 พฤติกรรมการเลือกซื้อและจำหน่ายอาหารปลอดภัยถูกต้องมากขึ้น แต่ความปลอดภัยด้านอาหารคือ สารเร่งเนื้อแดง สารโพลาร์ ปริมาณแบคทีเรียทั้งหมด และโคลิฟอร์มแบคทีเรียยังคงไม่ผ่านเกณฑ์ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12748 |
Appears in Collections: | Hum-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 25.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License