Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1275
Title: ศาสนาคริสต์กับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของชุมชนโนนประเสริฐ ตำบลพะลาน อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: Christianity and the economic, social and cultural change in the Phalan Sub-district, Nathan District, Ubon Ratchatani Province
Authors: ปัณฉัตร หมอยาดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
จันทร์สมร ชัยศักดิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
คนึงนิด รุ่งเรือง, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
คริสต์ศาสนากับสังคม
คริสต์ศาสนากับสังคม--ไทย--อุบลราชธานี
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เพื่อศึกษาการเข้ามาของศาสนาคริสต์ในชุมชนโนน ประเสริฐ จังหวัดอุบลราชธานี (2) เพื่อศึกษาวิธีการดำเนินงานของศาสนาคริสต์ในชุมชนโนนประเสริฐ จังหวัดอุบลราชธานี และ (3) เพื่อศึกษาลักษณะเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของชุมชนโนนประเสริฐ จังหวัดอุบลราชธานี ภายหลังการเข้ามาของศาสนาคริสต์การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัว อย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนโนนประเสริฐ ตำบลพะลาน อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชานี ซึ่งเป็นการคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ นักการศาสนา จำนวน 5 คน และประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนโนนประเสริฐ จำนวน 15 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลของการวิจัยพบว่า (1) การเข้ามาของศาสนาคริสต์ในชุมชนโนนประเสริฐจังหวัดอุบลราชธานีครั้งแรกภายใต้การนำของศาสนาจารย์ดร.จันทร์สมร ชัยศักดิ์ โดยเผยแผ่ในกลุ่มเครือญาติก่อน และจึงขยายไปสู่ประชาชนภายในหมู่บ้าน (2) วิธีการดำเนินงานของศาสนาคริสต์ในชุมชนโนนประเสริฐ จังหวัดอุบลราชธานี ที่สำคัญคือการวางรากฐานด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และยังคงรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนไว้ ควบคู่กับศาสนาคริสต์ (3) ลักษณะเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมภายหลังการเข้ามาของศาสนาคริสต์ ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงไปทุกด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ มีการประกอบอาชีพใหม่ๆ ในชุมชน ได้แก่ ครู ค้าขาย อาสาสมัคร ฯลฯ ด้านสังคม เน้นไปที่การสร้างความเข้มแข็งให้กับคนในชุมชนด้วยการเพิ่มค่านิยมในด้านการศึกษาโดยส่งเสริมให้บุตรหลานได้เรียนต่อในประเทศและต่างประเทศ ด้านวัฒนธรรม เป็นชุมชนที่นับถือศาสนาคริสต์และประพฤติปฎิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาอย่างเคร่งครัด ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1275
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (3).pdfเอกสารฉบับเต็ม32.67 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons