กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12756
ชื่อเรื่อง: | ความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยาของหน่วยจ่ายยาผู้ป่วยในโรงพยาบาลวชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Pre-dispensing errors of Inpatient Pharmacy Unit at Vajira Hospital, Navamindradhiraj University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พรทิพย์ กีระพงษ์ น้ำทิพย์ เอี่ยมรักษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | โรงพยาบาลวชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี เภสัชกรรมของโรงพยาบาล--การบริหาร โรงพยาบาล--ระบบการจ่ายยา การศึกษาอิสระ--บริหารโรงพยาบาล |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) อุบัติการณ์และลักษณะความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยาของหน่วยจ่ายยาผู้ป่วยใน โรงพยาบาลวชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (2) สาเหตุความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยาของหน่วยจ่ายยาผู้ป่วยใน โรงพยาบาลวชิรพยาบาลมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และ (3) แนวทางในการแก้ไขปัญหาความคลาดเคลื่อน ก่อนการจ่ายยาของหน่วยจ่ายยาผู้ป่วยใน โรงพยาบาลวชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ประชากรที่ศึกษา คือ ใบสั่งยาของหน่วยจ่ายยาผู้ป่วยใน โรงพยาบาลวชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชทั้งหมด ระหว่างวันที่ 15 เมษายน-15 กรกฎาคม 2561 จำนวน 115,078 ใบ และบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลและจัดยาในหน่วยจ่ายยาผู้ป่วยใน 6 คน โดยเก็บข้อมูล ความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยาของหน่วยจ่ายยาผู้ป่วยใน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลรายการความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยาของฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลวชิรพยาบาล และแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ อัตราความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) ความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยามีจำนวน 645 ใบสั่งยา คิดเป็นอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยา 12.36 ครั้งต่อพันวันนอน ลักษณะความคลาดเคลื่อนที่พบ คือ การคัดลอกคำสั่งใช้ยาโดยการพิมพ์ผิดและการจัดยาผิด ขั้นตอนที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยามากที่สุด คือ การคัดลอกคำสั่งใช้ยาโดยการพิมพ์ (2) สาเหตุที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยาผู้ป่วยใน คือ บุคลากร ผลิตภัณฑ์ยา ระบบและสิ่งแวดล้อม จำนวนชนิดและปริมาณยาต่อใบสั่งยา และ (3) แนวทางในการแก้ไขปัญหาคือบุคลากรควรมีความรอบคอบ/ความรอบรู้ในการปฏิบัติงานด้านผลิตภัณฑ์ยาให้มีการแยกความแตกต่างในการตั้งชื่อยาและบรรจุภัณฑ์ยา มีการจัดระบบและสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงานเพื่อการป้องกันความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยาของหน่วยจ่ายยาผู้ป่วยใน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12756 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_161368.pdf | 11.33 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License