กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12760
ชื่อเรื่อง: | คู่มือโภชนาการสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกไตในศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Nutrition handbook for hemodialysis patients at the Hemodialysis Center of Fort Chiraprawat Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิตยา เพ็ญศิรินภา พัชราภรณ์ คำภา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล --การศึกษาเฉพาะกรณี ไต--โรค--โภชนบำบัด การศึกษาอิสระ--บริหารโรงพยาบาล |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังด้วยการฟอกไต ต้องดูแลให้ไตเสื่อมลงในอัตราที่ช้าที่สุด เพื่อไม่ให้การดำเนินของโรคไปสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ภาวะแทรกซ้อนสำคัญประการหนึ่ง จากการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียมคือการสูญเสียสารอาหารหลายชนิด ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดสารอาหาร การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำคู่มือโภชนาการสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกไตในศูนย์ไตเทียมโรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ วิธีการจัดทำคู่มือ ได้จากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำร่างคู่มือโภชนาการสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกไตในศูนย์ไตเทียม มีการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาของร่างคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ภายหลังการปรับแก้ไข ได้นำคู่มือไปทดลองใช้กับผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกไตในศูนย์ไตเทียมโรงพยาบาลค่ายจิรประวัติจำนวน30 คน แล้วให้ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้คู่มือโภชนาการดังกล่าว ผลการศึกษา พบว่า คู่มือโภชนาการสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกไตในศูนย์ไตเทียมโรงพยาบาลค่ายจิรประวัติที่จัดทำขึ้น แบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนบทนำ และส่วนเนื้อหา ส่วนบทนำ ประกอบด้วย ความเป็นมา ความสำคัญและวัตถุประสงค์ในการจัดทำคู่มือ ส่วนเนื้อหามี 9 ตอน ได้แก่ 1) ความรู้เรื่องโรคไต 2) ประเภทของการบำบัดทดแทนไต 3) การฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม 4) ขั้นตอน ปฏิบัติในการเข้ารับการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียมในศูนย์ไตเทียมโรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ 5) ภาวะโภชนาการของผู้ที่ได้รับการฟอกไต 6) คำแนะนำด้านโภชนาการสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกไต 7) การคำนวณสารอาหารเพื่อมาประยุกต์ใช้ในการรับประทาน 8) เมนูอาหารแนะนำและอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง และ 9) วิธีทำและสูตรสำหรับการทำอาหารปั่นผสมหรืออาหารทางสาย สำหรับผลการประเมินความพึงพอใจในการทดลองใช้คู่มือ พบว่า ผู้ป่วยที่ใช้คู่มือ 30 ราย มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในทุกด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความน่าเชื่อถือของเนื้อหา |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12760 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_158490.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.52 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License