กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12771
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาต้นแบบระบบตรวจสอบและควบคุมคุณภาพงานไอทีของธุรกิจจำหน่ายรถบรรทุกโดยใช้หลักธรรมาภิบาลไอทีและกรอบมาตรฐานโคบิต |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Prototype development of IT audit and quality control for truck dealer business based on IT Governance and COBIT framework |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิภา เจริญภัณฑารักษ์ กวิน บุญทวี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร--การศึกษาเฉพาะกรณี เทคโนโลยีสารสนเทศ--การควบคุมคุณภาพ รถบรรทุก--เทคโนโลยีสารสนเทศ การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาระบบควบคุมภาพงานสารสนเทศสำหรับธุรกิจจำหน่ายรถบรรทุก 2) สร้างและประเมินต้นแบบเพื่อรับการตรวจสอบระบบสารสนเทศจากผู้ตรวจสอบภายนอกโดยใช้แนวคิดวงจรควบคุมคุณภาพได้แก่ 1) วางแผนการดำเนินงาน (Plan) โดยรวบรวมรายการตรวจคุณภาพด้านสารสนเทศ วางแผนนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ 2) ปฏิบัติตามแผน (DO)คือ พัฒนาระบบตรวจสอบมาตรฐานระบบสารสนเทศ 3) ตรวจสอบ (CHECK) คือ ทดสอบความปลอดภัยของระบบ และทดสอบสิทธิการใช้งาน เป็นการทดสอบการกำหนดสิทธิต่างๆ 4) ปรับปรุงการดำเนินการอย่างเหมาะสม (ACT) ได้แก่ ความเหมาะสมในการให้คะแนนการประเมินมาตรฐาน ปรับปรุงหน้าจอ การบันทึกข้อมูลลงระบบ ข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาประกอบด้วย รายการการตรวจคุณภาพด้านสารสนเทศ เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการควบคุมระบบสารสนเทศของบริษัทและข้อมูลต่างๆ ของแผนกสารสนเทศ โดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟเอกเซล และโปรแกรมไมโครซอฟแอกเซส สร้างเครื่องมือช่วยประเมินคุณภาพด้านสารสนเทศขององค์กร ผลการศึกษาพบว่าระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสามารถลดข้อบกพร่อง และควบคุมคุณภาพงานสารสนเทศได้ดีขึ้น เป็นที่ยอมรับจากผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศภายนอกตามหลักธรรมาภิบาลไอที และกรอบมาตรฐานโคบิตมากยิ่งขึ้นเช่น ความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล การปฏิบัติตามนโยบายด้านสารสนเทศ ฯลฯ และหลังจากที่ทดสอบเครื่องควบคุมคุณภาพระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมา สามารถช่วยในการลดจุดบกพร่องควบคุมคุณภาพได้ดีขึ้น ทำให้เกิดการยอมรับจากผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศในการควบคุมคุณภาพงานด้านสารสนเทศโดยใช้หลักธรรมาภิบาลไอทีและกรอบมาตรฐานโคบิตมากยิ่งขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12771 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_153572.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.18 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License