กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12779
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับประเมินเนื้อหาเว็บไซต์ภาครัฐตามมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | System development for evaluating government websites’ content based on the government website standard |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ขจิตพรรณ กฤตพลวิมาน บัลลังค์ ปาลาเร่, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--การศึกษาเฉพาะกรณี ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เว็บไซต์--การประเมิน การศึกษาอิสระ--วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับประเมินเนื้อหาเว็บไซต์ภาครัฐตามมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (2) เพื่อนำเสนอผลการจัดลำดับเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ ตามระดับการประเมินเนื้อหาเว็บไซต์ภาครัฐ และ (3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศสำหรับประเมินเนื้อหาเว็บไซต์ภาครัฐตามมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ วิธีดำเนินการวิจัยโดยวิเคราะห์เว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐในระดับกระทรวง กรม และหน่วยงานเทียบเท่ากรม จำนวน 274 หน่วยงาน และใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเลือกกระทรวงละ 3 หน่วยงานให้ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 หน่วยงาน จากนั้นพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับประเมิน เนื้อหาเว็บไซต์โดยวิธีเทียบข้อความตามเกณฑ์มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐกับข้อความในหน้าเว็บไซต์ของหน่วยงาน และระบบสารสนเทศนี้ได้ผ่านการประเมินประสิทธิภาพจากผู้ทดสอบทั้งสิ้น จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่าที่ระดับความเชื่อมั่น 95% จากการใช้ระบบสารสนเทศในการประเมิน มีประสิทธิภาพดีไม่แตกต่างจากการประเมินด้วยบุคคล มีการคำนวณหาค่าเฉลี่ยจากร้อยละของข้อมูลที่ตรงตามเนื้อหาเว็บไซต์ภาครัฐพบว่า หน่วยงานภาครัฐที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกของข้อมูลพื้นฐานเพื่อเผยแพร่และบริการของหน่วยงาน คือ (1) กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (2) กระทรวงสาธารณสุข และ (3) กระทรวงยุติธรรม ค่าเฉลี่ย 3 อันดับสูงสุดของการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ คือ (1) กระทรวงแรงงาน (2) กระทรวงพาณิชย์ และ (3) กระทรวงอุตสาหกรรม และค่าเฉลี่ย 3 อันดับสูงสุดของการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้บริการ คือ (1) กระทรวงกลาโหม (2) กระทรวงอุตสาหกรรม และ (3) กระทรวงการคลัง จากงานวิจัยพบว่าไม่มีหน่วยงานที่มีค่าเฉลี่ยเกินร้อยละ 50 ในส่วนของการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้บริการ ดังนั้นควรพัฒนาในส่วนของการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้บริการให้มากขึ้น เพื่อให้ตรงตามมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12779 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Science Tech - Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_156628.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.87 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License