กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12800
ชื่อเรื่อง: | การนำเสนอข้อมูลผ่านสื่อสิ่งพิมพ์โดยใช้โปรแกรมประยุกต์เทคนิคความจริงเสริมบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ของหน่วยบริหารจัดการนวัตกรรมรามาธิบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Presenting information via the printed media by using application program of augmented reality techniques on android operating system of Ramathibodi innovation administration unit in Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ขจิตพรรณ กฤตพลวิมาน สุณิษา ชูรุ้ง, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. หน่วยบริหารจัดการนวัตกรรมรามาธิบดี--การประชาสัมพันธ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) การนำเสนอข้อมูลผ่านสื่อสิ่งพิมพ์โดยใช้โปรแกรมประยุกต์เทคนิคความจริงเสริมบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ของหน่วยบริหารจัดการนวัตกรรมรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ (2) วิเคราะห์ประสิทธิภาพและข้อมูลการประเมินความพึงพอใจการประยุกต์ใช้เทคนิคความจริงเสริมบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ในการนำเสนอข้อมูลผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ของหน่วยบริหารจัดการนวัตกรรมรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิคล งานวิจัยนี้พัฒนาระบบประยุกต์เทคนิคความจริงเสริมบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ตามหลักการออกแบบของแบบจำลองแอคดี โดยใช้โปรแกรมและเครื่องมือต่างๆ ประยุกต์ร่วมกันเพื่อพัฒนา ได้แก่ โปรแกรม Unity 3D ร่วมกับเทคโนโลยี Vuforia เพื่อเชื่อมโยงเออาร์โค้ด และ Android SDK กับ Java SDK ช่วยประมวลผลสร้างแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพและวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินความพึงพอใจระบบโดยใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ สถิติที่ใช้คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มาใช้บริการ (ผู้ซื้อ/ผู้บริโภค/ลูกค้า) กับทางหน่วยบริหารจัดการนวัตกรรมคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิคลซึ่งประกอบด้วย บุคลากรทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งสิ้น 30 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการทดสอบประสิทธิภาพ ครั้งที่ 1 เป็นการทดสอบการใช้งานจริงรวม 20 ครั้ง โดยผู้ใช้งานจำนวน 20 คน ผ่านสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เวอร์ชัน 4.2.2 Jelly Bean ในภาพรวมแสดงผลหรือทำงานได้ถูกต้อง 919 ครั้ง จาก 940 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 97.8 (2) ครั้งที่ 2 นำปัญหาจากการทดสอบ ครั้งที่ 1 ที่พบการสแกนเออาร์โค้ดที่ไม่ผ่านมากที่สุด 2 ประเภท มาทดสอบข้อผิดพลาดเพิ่มเติมโดยผู้วิจัย ด้วยการใช้สมาร์ทโฟนรุ่นอื่น (สมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เวอร์ชัน 5.1 Lollipop) ในภาพรวมแสดงผลได้ถูกต้อง ประเภทละ 23 ครั้งจาก 30 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 76.7 ซึ่งจากการทดสอบประสิทธิภาพทั้ง 2 ครั้งแสดงให้เห็นว่าผลการทดสอบที่ออกมายังคงเป็นเช่นเดิมคือเกิดการแสดงผลที่ผิดพลาดแม้จะเปลี่ยนสมาร์ทโฟน จากการวิเคราะห์ปัญหาอาจเป็นเพราะการออกแบบเออาร์โค้ดที่มีความคล้ายคลึงกันจึงทำให้การกำหนดจุดสแกนในการตรวจจับไม่แตกต่างกัน (3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน โดยแบ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 5 ระดับและวิเคราะห์ความพึงพอใจ 3 ด้าน คือ 1) ด้านการออกแบบมี ค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุดคือ 4.39 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเป็น 0.52 2) ด้านข้อมูลมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุดคือ 4.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าเป็น 0.51 และ 3) ด้านการใช้งานค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุดคือ 4.41 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเป็น 0.62 เพราะฉะนั้นภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดคือ 4.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเป็น 0.60 และในส่วนของข้อเสนอแนะอื่นๆ คือ ควรแยกภาพเออาร์โค้ดเป็นอีก 1 ชุด เพื่อง่ายต่อการแสกน ควรมีสัญลักษณ์แสดงว่าผู้ใช้อยู่ในระหว่างการสแกน รูปภาพควรเป็น 3 มิติ เพื่อจูงใจและสร้างความสนใจแก่ผู้ใช้ บางครั้งแสดงผลช้า ควรพัฒนาบนระบบปฏิบัติการไอโอเอส และระบบดูใช้ง่าย จึงสรุปได้ว่าการประยุกต์ใช้เทคนิคความเป็นจริงเสริมบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ในการนำเสนอข้อมูลผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ของหน่วยบริหารจัดการนวัตกรรม รามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้พัฒนาขึ้นมามีคุณภาพและสามารถนำไปใช้ได้จริงเพราะสามารถสร้างการสื่อสารพร้อมกับภาพลักษณ์ที่ดีและทันสมัยให้แก่ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมรวมไปถึงองค์กร |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12800 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Science Tech - Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_151760.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 28.22 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License