กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12803
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดในกระบวนการป้องกันพื้นผิวรถยนต์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Application of clean technologies in automobile surface protection process
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ผกามาศ ผจญแกล้ว
ธนดล ศรีโฉมงาม, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
เทคโนโลยีสะอาด
อุตสาหกรรมรถยนต์
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการที่ก่อให้เกิดของเสียจากกระบวนการป้องกันพื้นผิวรถยนต์ (2) ศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดในการลดปัญหาของเสีย และ (3) ศึกษาการเปรียบเทียบต้นทุนระหว่างก่อนและหลังการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาด การดำเนินการวิจัยมีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันป้องกันพื้นผิว วัสดุที่ใช้ของเสีย และต้นทุนการดำเนินการก่อนปรับปรุงกระบวนการเป็นเวลา 25วัน และหลังปรับปรุง กระบวนการ 25วัน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบก่อนและหลังการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาด โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า จุดกำเนิดของเสียที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด คือ ขั้นตอนการทาน้ำมันลงบนชิ้นส่วนตัวถังรถยนต์ มีน้ำมันของเสียที่ทิ้งโดยเฉลี่ย 87.97 ลิตรต่อเดือน การปรับปรุงโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดตามหลัก 3 R คือ Reuse, Recycle, Reduce โดย Reuse เป็นการกรองน้ำมันของเสียกลับมาใช้ซ้ำใหม่ การทดลองคุณภาพน้ำมันหลังการกรอง สามารถนำไปใช้โดยไม่มีผลต่อคุณภาพชิ้นส่วนรถยนต์ และไม่ควรเก็บน้ำมันใช้แล้วเกิน 2 สัปดาห์ หลังปรับปรุงกระบวนการทำให้ลดปริมาณน้ำมันป้องกันพื้นผิวรถยนต์ใหม่โดยเฉลี่ย 76.61 ลิตร ต่อเดือนคิดเป็นร้อยละ 9.277 ของปริมาณน้ำมันที่ใช้ก่อนการปรับปรุง ส่วน Recycle เป็นการนำเศษเหล็กที่ได้จากการกรองน้ำมันนำไปหลอมเพื่อนำไปเวียนใช้ใหม่ โดยเฉลี่ย 9.20 กิโลกรัมต่อเดือน และ Reduce เป็นการลดการใช้ถุงมือผ้า และผ้าที่ใช้ทาน้ำมัน โดยเปลี่ยนมาใช้ถุงมือยาง และฟองน้ำแทน ทำให้ลดปริมาณของเสียถุงมือผ้าเฉลี่ย 18.08 กิโลกรัมต่อเดือน และลดของเสียเศษผ้า 4.97 กิโลกรัมต่อเดือน การวิเคราะห์ต้นทุนดำเนินการ พบว่า หลังการปรับปรุงกระบวนการสามารถลดต้นทุนได้ 6778.10 บาทต่อเดือน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12803
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Science Tech - Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_154891.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons