กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12835
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการเฝ้าระวังป้องกันโรคและควบคุมโรคไข้หวัดนกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to success of avian influenza surveillance prevention and control of Village Health Volunteers in Huaikrachao District, Kanchanaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์
จำนงค์ โพธิ์ทา, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี
ไข้หวัดนก--การป้องกันและการควบคุม
อาสาสมัครสาธารณสุข--ไทย--กาญจนบุรี
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ การรับรู้เรื่องโรคไข้หวัดนก และแรงสนับสนุนทางสังคม (2) ความสำเร็จในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้หวัดนก อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ การรับรู้เรื่องโรคไข้หวัดนก และแรงสนับสนุนทางสังคมกับความสำเร็จในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้หวัดนก อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี ประชากร คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 666 คน คำนวณได้จำนวนตัวอย่าง 218 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยงระหว่าง 0.71-0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุ ระหว่าง 41-50 ปี สภาพสมรสคู่ ระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา อาชีพเกษตรกรรม ประสบการณ์ในการทำงาน 11-15 ปี รับผิดชอบจำนวนหลังคาที่รับผิดชอบ 11-15 หลังคาเรือน ความรู้เรื่องโรคไข้หวัดนกอยู่ใน ระดับปานกลาง การรับรู้เรื่องโรคไข้หวัดนกและแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูง (2) ความสำเร็จในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้หวัดนกอยู่ในระดับสูง และ (3) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านอายุและอาชีพมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้หวัดนก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความรู้ทั่วไป เรื่องโรคและการรับรู้โอกาสเสี่ยงมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้หวัดนกในเชิงบวก ในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่แรงสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้หวัดนก ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรจัดอบรมฟื้นฟูความรู้เรื่องโรคไข้หวัดนกให้ อสม. อย่างต่อเนื่อง และควรประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคไข้หวัดนก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12835
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_148378.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons