กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12845
ชื่อเรื่อง: | ความพึงพอใจในการปฎิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Job satisfaction of personnel at subdistrict administrative organizations in Bang Bua Thong District, Nonthaburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมโภช รติโอฬาร บัวลัย บางยาง, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี ความพอใจในการทำงาน การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ตำแหน่งงาน รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบางบัวทอง (2) ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอบางบัวทอง และ (3) เปรียบเทียบความแตกต่างระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบางบัวทอง ตามลักษณะปัจจัยส่วนบุคล ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี จำนวน 6 แห่ง จำนวน 946 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างและสุ่มอย่างง่ายได้จำนวน 281 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างด้วยค่าสถิติทีเทสต์ และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า (1) บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 35-44 ปี สถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอายุการทำงาน 5-10 ปี ตำแหน่งงานส่วนใหญ่ คือ นักวิชาการ เจ้าหน้าที่บริหารและนิติกร มีรายได้ต่อเดือน 20,001-25,000 บาท เหตุผลที่เลือกทำงานเพราะใกล้บ้าน (2) ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบางบัวทองอยู่ในระดับปานกลาง และ (3) เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ตำแหน่งงาน รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน มีปัจจัยจูงใจ ที่เป็นตัวกระตุ้นในการทำงานและปัจจัยค้ำจุนบำรุงรักษาจิตใจในการทำงานที่แตกต่างกัน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12845 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_161369.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.48 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License