กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12846
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting standard epidemiological surveillance performance of public health personnel at Sub-district health promoting hospitals in Nakhon Si Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์
บุญประจักษ์ จันทร์วิน, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี
การเฝ้าระวังโรค
ระบาดวิทยา
การศึกษาอิสระ -- บริหารสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยสนับสนุนจากองค์กร แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (2) ระดับการดำเนินงานตามมาตรฐานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา (3) ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา และ (4) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานตามมาตรฐานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ศึกษาคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ได้รับมอบหมายรับผิดชอบงานระบาดวิทยาประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน253 คน คำนวณตัวอย่างได้จำนวนตัวอย่าง 153 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงของปัจจัย สนับสนุนจากองค์กร แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และการดำเนินงานตามมาตรฐาน อยู่ระหว่าง 0.91-0.96 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 39.7 ปี สถานภาพสมรสคู่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อายุราชการเฉลี่ย 18.8 ปี ระยะเวลารับผิดชอบงานระบาดวิทยา เฉลี่ย 10.6 ปี เคยได้รับการอบรมงานระบาดวิทยามากกว่า 2 ปี ปัจจัยสนับสนุนจากองค์กรในภาพรวม ด้านบุคลากร และด้านงบประมาณ อยู่ในระดับปานกลาง ด้านวัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการอยู่ในระดับสูง แรงจูงใจในการปฏิบัติงานในภาพรวมและปัจจัยค้ำจุนอยู่ในระดับปานกลางปัจจัยจูงใจอยู่ในระดับสูง (2) การดำเนินตามมาตรฐานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และรายด้านอยู่ในระดับสูง ยกเว้น ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมายอยู่ในระดับปานกลาง (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คือ ปัจจัยค้ำจุนด้านนโยบายและการบริหารงาน ปัจจัยสนับสนุนจากองค์กรด้านวัสดุอุปกรณ์ และปัจจัยจูงใจในภาพรวมตามลำดับ โดยมีอำนาจการทำนาย ร้อยละ 62.6 และ (4) ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญ คือ เจ้าหน้าที่ไม่ได้อบรมฟื้นฟูทักษะ ด้านการสอบสวนโรค ขาดการทำงานเป็นทีม และการจัดสรรงบประมาณล่าช้า ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารสาธารณสุข ระดับจังหวัด ควรจัดให้มีการอบรมฟื้นฟูวิชาการ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สร้างสัมพันธภาพและพัฒนาทีม และเร่งรัดการจัดสรรงบประมาณ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12846
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_146053.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons