กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12866
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเชื่อมั่นในความสามารถของตนและการปฏิบัติในการดูแลทันตสุขภาพสำหรับเด็กของผู้ปกครองที่มีเด็กอายุ 5 ปีฟันไม่ผุและฟันผุในเขตเทศบาลหนองแค อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship between knowledge, self-efficacy and practice of dental health care of guardians with pre-school children possessed caries and caries free in Nongkhae Municipality, Nongkhae District, Saraburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เยาวภา ติอัชสุวรรณ
วรพรรณ ถมยา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี
เด็ก--การดูแลทันตสุขภาพ--การมีส่วนร่วมของบิดามารดา
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรอิสระ คือ (1) ลักษณะส่วนบุคคล (2) ความรู้ที่ถูกต้องด้านทันตสุขภาพสำหรับเด็ก (3) ระดับความเชื่อมั่นในความสามารถในการดูแลทันตสุขภาพสำหรับเด็กตัวแปรตามคือ (4) การปฏิบัติทันตสุขภาพสำหรับเด็ก ของผู้ปกครองที่มีเด็กเล็กฟันไม่ผุและฟันผุ และ (5) ความ สัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามประชากรที่ศึกษาคือ ผู้ปกครองของเด็กนักเรียนอนุบาลอายุ 5 ปี ในเขตเทศบาลตำบลหนองแค อำเภอหนองแค ใน พ.ศ. 2558 จำนวน 364 คน ขนาดตัวอย่าง 244 คน และสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเป็นผู้ปกครองที่มีเด็กอายุ 5 ปีที่มีฟันไม่ผุ 87 คน และผู้ปกครองที่มีเด็กอายุ 5 ปีที่มีฟันผุ 157 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบสอบถามความรู้มีค่าสัมประสิทธิ์สเปียร์แมนบราวน์ 0.489 แบบสอบถามความเชื่อมั่นในความสามารถ และแบบสอบถามการปฏิบัติทันตสุขภาพ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.890 และ 0.536 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง และได้รับแบบสอบถามกลับคืนทั้งหมด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่าผู้ปกครองที่มีเด็กฟันไม่ผุ และฟันผุ (1) มีลักษณะเหมือนกันคือ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31-40 ปี เป็นพนักงานบริษัท รายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท สถานภาพสมรสคู่ มีความสัมพันธ์กับเด็กในฐานะบิดา-มารดา และมีเด็กจำนวน 2 คนในการดูแล มีลักษณะที่ต่างกันคือ ผู้ปกครองที่มีเด็ก ฟันไม่ผุมีการศึกษาสูงกว่าอนุปริญญา/ปวส. ผู้ปกครองที่มีเด็กฟันผุมีการศึกษาระดับมัธยมปลาย/ปวช. (2) ส่วนใหญ่มีความรู้ที่ถูกต้องด้านทันตสุขภาพสำหรับเด็กในระดับสูง และตอบให้เด็ก อายุที่ควรแปรงฟันซ้ำให้เด็กประโยชน์ของฟันน้ำนม อายุที่เด็กควรเลิกนมขวด การพาเด็กไปพบทันตแพทย์ (3) ส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นใน ความสามารถในการดูแลทันตสุขภาพสำหรับเด็กโดยรวมในระดับปานกลาง เกี่ยวกับการตรวจดูฟันผุให้เด็ก ห้ามเด็กดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน กินลูกอม จัดการให้เด็กกินขนมเป็นเวลา (4) ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติทันตสุขภาพสำหรับเด็กในระดับปานกลาง และ (5) ไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างความรู้ ความเชื่อมั่นในความสามารถ และการ ปฏิบัติในการดูแลทันตสุขภาพสำหรับเด็ก ข้อเสนอแนะคือ ให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพสำหรับเด็กที่ถูกต้อง สอนเทคนิคการห้ามเด็กเล็กดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน กินลูกอม ขนมที่ไม่มีประโยชน์ เพื่อเพิ่มความมั่นใจในความสามารถของผู้ปกครอง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12866
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_148381.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons