กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12886
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ : กรณีศึกษาการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการที่ปฏิบัติงานในส่วนกลางกับข้าราชการที่ปฏิบัติงานในกลุ่มเรือนจำ/ทัณฑสถาน เขต 7
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors influencing the quality of working life of Government Officials of the Department of Corrections : a case study of comparing the quality of working life of Government Officials Working in the Head Office and Government Officials Working in the Prison/Correctional Institutions Zone 7
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
จำเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษา
พีรพล น่วมศรี, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
กรมราชทัณฑ์--ข้าราชการ--ความพอใจในการทำงาน
คุณภาพชีวิตการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานระหว่างข้าราชการที่ปฏิบัติงานในส่วนกลางกรมราชทัณฑ์ กับข้าราชการที่ปฏิบัติงานในกลุ่มเรือนจำ/ทัณฑสถาน เขต 7 (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานระหว่างข้าราชการที่ปฏิบัติงานในส่วนกลางกรมราชทัณฑ์ กับข้าราชการที่ปฏิบัติงานในกลุ่มเรือนจำ/ทัณฑสถาน เขต 7 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรเป็นข้าราชการกรมราชทัณฑ์ที่ปฏิบัติงานในกลุ่มเรือนจำ/ทัณฑสถาน เขต 7 และที่ปฏิบัติงานในส่วนกลาง จำนวน 1,343 คน กำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีคำนวนกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 308 คน ประกอบด้วยข้าราชการสังกัดกรมราชทัณฑ์ที่ปฏิบัติงานส่วนกลาง 110 คน และข้าราชการสังกัดกรมราชทัณฑ์ที่ปฏิบัติงานในกลุ่มเรือนจำ/ทัณฑสถาน เขต 7 จำนวน 198 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานระหว่างข้าราชการที่ปฏิบัติงานในส่วนกลางกรมราชทัณฑ์ กับข้าราชการที่ปฏิบัติงานในกลุ่มเรือนจำ/ทัณฑสถาน เขต 7 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากและไม่แตกต่างกัน โดยมีคุณภาพชีวิตการทำงานสูงสุดด้านความพึงพอใจและความมั่นคงในการทำงาน (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ทุกปัจจัยมีผลต่อคุณภาพการทำงานในระดับที่สูงมากโดยที่ปัจจัยทั้ง 8 ด้าน สามารถอธิบายความผันแปรของคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ได้ร้อยละ 90.3 (3) ข้าราชการกรมราชทัณฑ์ที่ปฏิบัติงานในส่วนกลางกรมราชทัณฑ์กับข้าราชการที่ปฏิบัติงานในกลุ่มเรือนจำ/ทัณฑสถาน เขต 7 ที่มี อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และสถานที่ทำงานในปัจจุบันแตกต่างกันมีระดับและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานไม่แตกต่างกันและยกเว้นข้าราชการกรมราชทัณฑ์ที่ปฏิบัติงานในส่วนกลางกรมราชทัณฑ์กับข้าราชการที่ปฏิบัติงานในกลุ่มเรือนจำ/ทัณฑสถาน เขต 7 ที่ต่างเพศกันมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.(บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12886
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons