กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12896
ชื่อเรื่อง: | การเปลี่ยนงานของพยาบาลวิชาชีพจากกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาลสู่กลุ่มภารกิจด้านบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Job transition of professional nurses from departments of nursing service to departments of primary care service, Phrapokklao Hospital, Chantaburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา วิภา ตุนาค, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาลพระปกเกล้า พยาบาล--การโอนย้าย |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการเปลี่ยนงานของพยาบาลวิชาชีพจากกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาลสู่กลุ่มภารกิจด้านบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนงาน และ 3) แนวทางการเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนงาน การวิจัยแบบผสมวิธีนี้ มีกลุ่มที่ศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มที่ตอบแบบสอบถามเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล ได้รับการคัดเลือกแบบสุ่มอย่างเป็นระบบ จำนวน 259 คน และ 2) กลุ่มที่ร่วมสนทนากลุ่ม เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ชุด คือ 1) แบบสอบถามการเปลี่ยนงานของพยาบาลวิชาชีพจากกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาลสู่กลุ่มภารกิจด้านบริการปฐมภูมิ และ 2) แนวทางการสนทนากลุ่ม แบบสอบถามผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยมีค่าความตรงตามเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.60 -1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) พยาบาลวิชาชีพมีความต้องการเปลี่ยนงานจากกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาลสู่กลุ่มภารกิจด้านบริการปฐมภูมิเพียงร้อยละ 18.53 โดยต้องการเปลี่ยนงานใน 3 ลักษณะ ได้แก่ เปลี่ยนไปกลุ่มงานการพยาบาลชุมชน เปลี่ยนไปแผนกอื่นในองค์กรเดียวกัน และเปลี่ยนไปทำงานใหม่นอกองค์กร 2) ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เปลี่ยนงาน มี 3 ประการ ได้แก่ (1) การเปลี่ยนที่ทำงานใหม่ (ร้อยละ 85.42): ยังทำงานเป็นพยาบาล (2) ลักษณะงานพยาบาล (ร้อยละ 79.17): เป็นภาระงานหนักและเครียด (3) ความจำเป็นทางครอบครัว (ร้อยละ 68.75): มีภาระต้องรับผิดชอบครอบครัวหลายประการ และ 3) แนวทางการเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนงานแบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านองค์กร ได้แก่ (ก) สนับสนุนวิธีการบริหารงานชุมชน (ร้อยละ 77.08): ปรับระบบการบริการเป็นเชิงรุก (ข) จัดกรอบอัตรากำลังรองรับกับการเปลี่ยนแปลงให้ทันเวลา (ร้อยละ 75.00): วิเคราะห์ภาระงานและกรอบอัตรากำลัง และ (2) ด้านบุคคล ได้แก่ (ก) ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนงาน (ร้อยละ 85.42): วางแผนความก้าวหน้าในงาน ค่าตอบแทน และสวัสดิการที่เหมาะสม (ข) พัฒนาสมรรถนะการบริการระดับปฐมภูมิของพยาบาลวิชาชีพ (ร้อยละ 77.08): ต้องมีการพัฒนาตนเอง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12896 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.24 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License