กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12904
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal problems related to the submission of assets and liabilities under the Organic Act on Anti-Corruption B.E. 2561 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เกวลิน ต่อปัญญาชาญ สานนท์ เลิศสุโภชวณิชย์, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี การบัญชีสินทรัพย์--กฎหมายและระเบียนข้อบังคับ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสำคัญและปัญหาเกี่ยวกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยศึกษาความเป็นมา แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินรวมถึงการศึกษากฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน และการตรวจสอบบัญชีเพื่อนำมาวิเคราะห์และเสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน ถูกต้องเป็นธรรม และลดข้อจำกัดในการปฏิบัติอันจะทำให้มาตรการการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการวิจัยเอกสารที่เป็นข้อมูลปฐมภูมิ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง และคำพิพากษา และเอกสารที่เป็นข้อมูลทุติยภูมิ เช่น วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ รวมถึงบทความในเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่ากฎหมายไทยมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของคู่สมรสของเจ้าพนักงานของรัฐที่ยังขาดความสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบันที่ยอมรับความหลากหลายทางเพศและการสมรสระหว่างบุคคลเพศเดียวกัน โดยเห็นควรเสนอแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้ครอบคลุมถึงกฎหมายเกี่ยวกับคู่ชีวิตอีกทั้งข้อจำกัดของการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามโครงสร้างความรับผิดทางอาญาที่เห็นควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อให้มีมาตรการบังคับแก่คู่สมรสเพื่อให้มีความตระหนักถึงความสำคัญของการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันจะต้องแสดงรายการที่ถูกต้องและครบถ้วนรวมถึงข้อจำกัดของระบบการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินซึ่งปัจจุบันกฎหมายกำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายได้ตามหลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในรอบปีภาษีที่ผ่านมาเท่านั้น แต่เป็นข้อมูลที่ไม่เพียงพอต่อการตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพได้จึงจำเป็นต้องเสนอแนะแก้ไขกฎหมายโดยนำแนวทางการตรวจสอบรายได้ของต่างประเทศมาปรับปรุงใช้ให้เหมาะสม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12904 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.09 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License