กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12905
ชื่อเรื่อง: การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Bailing the accused or the defendant by using electronic monitoring (EM)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวิภา เมืองถํ้า
จิตพล เฉลยถ้อย, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
การปล่อยชั่วคราว
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงความเป็นมา แนวความคิด ทฤษฎีและวิวัฒนาการปัญหาเกี่ยวกับการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) (2) ศึกษาการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) ในประเทศไทยกับหลักกฎหมายของเครือรัฐออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา มลรัฐจอร์เจีย อังกฤษ (3) ศึกษาวิเคราะห์การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) ตามกฎหมายไทยกับหลักกฎหมายของเครือรัฐออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา มลรัฐจอร์เจีย อังกฤษ (4) ศึกษาค้นคว้าหาแนวทางในการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสม และเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 มาตรา 110 หรือมาตรา 114 วรรคสอง และตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา ฉบับที่ 2 พ.ศ.2562 ข้อ 3 งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยจากเอกสารทางกฎหมายเกี่ยวกับการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย คำพิพากษาของศาล และกฎหมายต่างประเทศ โดยผู้วิจัยทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา ฉบับที่ 2 พ.ศ.2562 ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวความคิด ทฤษฎีและวิวัฒนาการปัญหา กฎหมายให้การยอมรับการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) เพื่อเป็นการให้ความคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยทางกฎหมายตามหลักสากล (2) กฎหมายไทยมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) แต่พบว่ายังมีปัญหาและข้อขัดข้องเกิดขึ้นจากการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) เช่น การใช้ดุลพินิจของศาล (3) เมื่อมีการเปรียบเทียบการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) ตามกฎหมายไทยกับหลักกฎหมายของเครือรัฐออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา มลรัฐจอร์เจีย อังกฤษ พบว่ามีความแตกต่างกันหลายประการ เช่น กรณีประเทศไทยไม่มีหลักเกณฑ์ควบคุมการใช้ดุลพินิจของศาลในการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) กรณีประเทศไทยไม่มีข้อกฎหมาย ระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ที่กำหนดเงื่อนไขการพิจารณาอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยการติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) ไว้อย่างชัดเจน กรณีความไม่เท่าเทียมกันในการปล่อยตัวชั่วคราวตามกฎหมายที่มีคำสั่งให้วางหลักประกันควบคู่กับการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) เนื่องจากประเทศไทยยังให้มีการวางหลักประกันควบคู่กับการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) และกรณีคุณภาพของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) ของประเทศไทยเมื่อทำการเปรียบเทียบกับของต่างประเทศแล้วพบว่า มีประสิทธิภาพไม่เทียบเท่ากับของต่างประเทศ (4) เสนอให้แก้ไขกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) โดยการแก้ไขข้อกฎหมาย ระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ที่มีความเหมาะสมกับตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย ประเภทความผิด อัตราโทษ ให้ชัดเจนและเป็นไปตามเงื่อนไขของการพิจารณาอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยการติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการตีความและบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมมากขึ้นกับสถานการณ์ปัจจุบัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12905
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons