กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12906
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้กับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดอาญา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problems related to the electronic monitoring for juvenile criminal justice |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วราภรณ์ วนาพิทักษ์ วีริศ กิตติพงษ์พัฒนา, 2534- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี การปล่อยชั่วคราว การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนในการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้ในกระบวนการยุติธรรม (2) ศึกษาความเป็นไปได้ในและความเหมาะสมในการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้กับผู้กระทำความผิดอาญาที่เป็นเด็กและเยาวชน (3) ศึกษาถึงข้อจำกัดและข้อขัดข้องในกรณีที่มีการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้กับผู้กระทำความผิดอาญาที่เป็นเด็กและเยาวชน (4) ศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบถึงสภาพปัญหาที่เกี่ยวกับการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้กับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดอาญาของประเทศไทยและต่างประเทศ (5) ศึกษาถึงแนวทางปรับปรุงแก้ไขและพัฒนากระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดอาญาของประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยจากเอกสาร ซึ่งผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร กฎหมาย หนังสือตำรางานวิจัยบทความทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้กับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดอาญา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย ผู้ศึกษาจะทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์จากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำข้อเสนอแนะต่อไป จากผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดในการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับเด็กและเยาวชนมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมตัวผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กและเยาวชน ซึ่งจะต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ.1989 และกฎมาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติว่าด้วยการบริหารงานยุติธรรมที่เกี่ยวแก่คดีเด็กและเยาวชน ค.ศ.1985 (2) ประเทศอังกฤษและประเทศสหรัฐอเมริกา มลรัฐฟลอริด้า มีการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในขั้นตอนก่อนศาลมีคำพิพากษา ชั้นปล่อยตัวชั่วคราว และภายหลังศาลมีคำพิพากษา (3) ประเทศไทยยังไม่มีการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญา เนื่องจากมีปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กและเยาวชนและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญายังไม่มีการบัญญัติกำหนดอายุและประเภทคดีที่สามารถนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาเอาไว้อย่างชัดเจน (4) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่มีบทบัญญัติและมาตรการทางกฎหมายในการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดอาญาซึ่งแตกต่างกับประเทศอังกฤษและประเทศสหรัฐอเมริกา มลรัฐฟลอริด้า ที่มีบทบัญญัติและมาตรการทางกฎหมายในเรื่องดังกล่าวเอาไว้ชัดเจน (5) ข้อเสนอแนะ คือ การแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในส่วนของบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด ประเภทคดีที่สามารถใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว กำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานคุมประพฤติและไม่ควรเก็บค่าใช้จ่ายในการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญา |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12906 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.96 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License