Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12906
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวราภรณ์ วนาพิทักษ์th_TH
dc.contributor.authorวีริศ กิตติพงษ์พัฒนา, 2534-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-10-07T06:19:56Z-
dc.date.available2024-10-07T06:19:56Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12906en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนในการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้ในกระบวนการยุติธรรม (2) ศึกษาความเป็นไปได้ในและความเหมาะสมในการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้กับผู้กระทำความผิดอาญาที่เป็นเด็กและเยาวชน (3) ศึกษาถึงข้อจำกัดและข้อขัดข้องในกรณีที่มีการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้กับผู้กระทำความผิดอาญาที่เป็นเด็กและเยาวชน (4) ศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบถึงสภาพปัญหาที่เกี่ยวกับการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้กับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดอาญาของประเทศไทยและต่างประเทศ (5) ศึกษาถึงแนวทางปรับปรุงแก้ไขและพัฒนากระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดอาญาของประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยจากเอกสาร ซึ่งผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร กฎหมาย หนังสือตำรางานวิจัยบทความทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้กับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดอาญา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย ผู้ศึกษาจะทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์จากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำข้อเสนอแนะต่อไป จากผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดในการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับเด็กและเยาวชนมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมตัวผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กและเยาวชน ซึ่งจะต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ.1989 และกฎมาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติว่าด้วยการบริหารงานยุติธรรมที่เกี่ยวแก่คดีเด็กและเยาวชน ค.ศ.1985 (2) ประเทศอังกฤษและประเทศสหรัฐอเมริกา มลรัฐฟลอริด้า มีการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในขั้นตอนก่อนศาลมีคำพิพากษา ชั้นปล่อยตัวชั่วคราว และภายหลังศาลมีคำพิพากษา (3) ประเทศไทยยังไม่มีการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญา เนื่องจากมีปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กและเยาวชนและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญายังไม่มีการบัญญัติกำหนดอายุและประเภทคดีที่สามารถนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาเอาไว้อย่างชัดเจน (4) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่มีบทบัญญัติและมาตรการทางกฎหมายในการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดอาญาซึ่งแตกต่างกับประเทศอังกฤษและประเทศสหรัฐอเมริกา มลรัฐฟลอริด้า ที่มีบทบัญญัติและมาตรการทางกฎหมายในเรื่องดังกล่าวเอาไว้ชัดเจน (5) ข้อเสนอแนะ คือ การแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในส่วนของบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด ประเภทคดีที่สามารถใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว กำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานคุมประพฤติและไม่ควรเก็บค่าใช้จ่ายในการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการปล่อยชั่วคราวth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleปัญหาการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้กับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดอาญาth_TH
dc.title.alternativeProblems related to the electronic monitoring for juvenile criminal justiceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study were:(1) to examine the origin, problems, and conception of using electronic monitoring devices in juvenile criminal justice process; (2) to conduct a feasibility study in applying electronic monitoring to juvenile delinquents; (3) to investigate limitation and restriction of using electronic monitoring devices with the juvenile delinquents; (4) to compare and analyze electronic monitoring issues on the juvenile delinquents in Thailand and other countries; (5) to study and purpose guidelines for improving and developing justice process related to juvenile justice. This study was qualitative research by using documentary approach. The primary and secondary data were collected via documents, laws, textbooks, research articles, academic articles related to using of electronic monitoring devices in juvenile delinquents. Literature review and documentary approach were used to analyze and suggest recommendations. The results of this study were (1) the conception of using electronic monitoring devices with juvenile delinquents is aimed to control the delinquents conforming to “Convention on the Rights of the Child 1989” and “United Nations Standard Minimum Rules for the Administration of Juvenile Justice 1985”; (2) Electronic monitoring devices are used in the United Kingdom and the United State of America during before the judgment, in the provisional and after the judgment; (3) There is still no application of electronic monitoring devices in the juvenile justice process in Thailand due to human right issues. Additionally, there are not definition of age range and the lawsuit types for using electronic monitoring devices with the juvenile delinquents in The Criminal Procedure Code; (4) In Thailand, there is no law or legal standard of using electronic monitoring devices with the juvenile delinquents differed from the United Kingdom and the United State of America (Florida) where the law was clearly defined; (5) The suggestion are improvement of The Criminal Procedure Code to set age range and the lawsuit types for using the electronic monitoring devices, and also development of authority and function of officers. However, there should be no charges to the juvenile delinquents in using electronic monitoring devices.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.96 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons