กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12907
ชื่อเรื่อง: มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา : ศึกษากรณีคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal measure regarding the assistance in the process of criminal judgement : case study of the Justice Fund Committee
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เกวลิน ต่อปัญญาชาญ
นาทพล ดำสีไหม, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความช่วยเหลือทางกฎหมาย
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษา แนวคิด ทฤษฎี หลักการทางกฎหมายเกี่ยวกับระบบพิทักษ์คุณธรรมของคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับระบบพิทักษ์คุณธรรม ความตกลงระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทยของคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม (3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายของไทยเกี่ยวกับระบบพิทักษ์คุณธรรมของคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม (4) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายของไทยเกี่ยวกับระบบพิทักษ์คุณธรรมของคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาจากเอกสารวิชาการ จากตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการ งานวิจัยและผลงานทางวิชาการอื่นๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ โดยนำมาวิเคราะห์หาข้อสรุป เพื่อให้ได้ทราบถึงแนวคิด ทฤษฎี และมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับระบบพิทักษ์คุณธรรมของคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ผลการวิจัย พบว่า (1) มาตรการทางกฎหมายของไทยมีแนวทางการพิจารณาความอาญาและกลไกในการช่วยเหลือทางกฎหมายตามหลักและแนวปฏิบัติแห่งสหประชาชาติ โดยประชาชนทุกคนเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติ (2) การจัดตั้งผู้ใช้อำนาจหน้าที่ในคณะกรรมการบริหารกองทุนยุติธรรมไม่ได้มีการกำหนดคุณสมบัติความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายในสัดส่วนของคณะกรรมการกองทุนยุติธรรมเป็นการเฉพาะและกระบวนการอุทธรณ์มิได้นำระบบคุณธรรมมาใช้กับการบริหารงานเป็นการเฉพาะที่ชัดเจน เมื่อเทียบกับต่างประเทศ พบว่า ในประเทศสหราชอาณาจักรสหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ได้นำระบบคุณธรรมมาใช้ในลักษณะเป็นการเฉพาะ เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือทางกฎหมาย อย่างเหมาะสม ไม่เลือกปฏิบัติ อีกทั้งในประเทศสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกามีการปฏิรูประบบโครงสร้าง และบริหารงานบุคคลในหน่วยงานของรัฐบาลอย่างเป็นอิสระ เพื่อมิให้อำนาจอุปถัมภ์ทางการเมืองเข้ามาแทรกแซงได้ (3) ปัญหาทางกฎหมายของไทยเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายในระบบพิทักษ์คุณธรรมของคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม มีโครงสร้างและความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการกองทุนยุติธรรมที่ไม่สามารถสร้างหลักประกันในการรับรองคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้และกระบวนการอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนยุติธรรมขัดกับหลักความเป็นกลาง ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรม แก่ประชาชน และส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างในการดำเนินงานอีกด้วย (4) ผู้วิจัยเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติม บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 กำหนดให้คณะกรรมการของสำนักงานกองทุนยุติธรรมจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และมีความเหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ อย่างน้อย 1 ใน 3 ของคณะกรรมการทั้งหมด ควรปรับกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติ รวมถึงให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ โดยสะดวก รวดเร็ว ไม่เสียค่าใช้จ่ายสูง เกินสมควรและการใช้ระบบอุทธรณ์สองชั้นโดยให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้กำกับดูแล หรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อปกป้องคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ โดยเคร่งครัด ปราศจากการแทรกแซง หรือครอบงำใด ๆ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12907
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons