กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12927
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร บริษัท คอมพิวเตอร์ ซีสเท็ม คอนเน็คชั่น อินเตอร์แนชชั่นแนล จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting performance efficiency of personnel in Computer System Connection International Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีราภรณ์ สุธัมมสภา
กมลวร นีรนาทโกมล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สมรรถนะ
พนักงานบริษัท--การทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร บริษัท คอมพิวเตอร์ ซีสเท็ม คอนเน็คชั่น อินเตอร์แนชชั่นแนล จำกัด (2) ศึกษาปัจจัยแรงจูงใจและปัจจัยการเสริมแรงในการทำงานของบุคลากร บริษัท คอมพิวเตอร์ ซีสเท็ม คอนเน็คชั่น อินเตอร์แนชชั่นแนล จำกัด (3) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร บริษัท คอมพิวเตอร์ ซีสเท็ม คอนเน็คชั่น อินเตอร์ แนชชั่นแนล จำกัด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (4) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร บริษัท คอมพิวเตอร์ ซีสเท็ม คอนเน็คชั่น อินเตอร์แนชชั่นแนล จำกัด ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ บุคลากร บริษัท คอมพิวเตอร์ ซีสเท็ม คอนเน็คชั่น อินเตอร์แนชชั่นแนล จำกัด จำนวน 202 คน ใช้การคำนวณกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร ยามาเน่ ได้ 135 ตัวอย่าง โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิและการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์ ถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร พบว่า ระดับประสิทธิภาพการทำงานอยู่ในระดับความเห็นด้วยมากที่สุด ได้แก่ การลดค่าใช้จ่าย การลดข้อผิดพลาด การลดเวลาในการปฏิบัติงาน และคุณภาพของงาน ตามลำดับ (2) ปัจจัยแรงจูงใจของบุคลากรในภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนอยู่ในระดับมาก ปัจจัยเสริมแรงอยู่ในระดับมาก(3) การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงาน พบว่า เพศ สถานภาพ การศึกษา รายได้ อายุงาน และระดับตำแหน่ง ที่แตกต่างกันมีระดับประสิทธิภาพการทำงานไม่แตกต่างกัน และพบว่า อายุที่แตกต่างกันมีระดับประสิทธิภาพการทำงานแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบรายคู่พบว่า มีความแตกต่างกันระหว่างอายุ 21-30 ปี กับอายุ 41-50ปี และอายุ 31-40 ปีกับอายุ 41-50 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ (4) การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานพบว่า ปัจจัยแรงจูงใจ และปัจจัยเสริมแรง ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานได้ร้อยละ 29 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12927
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_157866.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.47 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons