กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12936
ชื่อเรื่อง: | การสื่อสารในการรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ของชุมชนพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนหอม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Communication strategies in a behavior modification campaign to reduce the rate of New diabetes patients in Non Hom Sub-district, Mueang District, Sakon Nakhon Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุภาภรณ์ ศรีดี เรืองศักดิ์ ใครบุตร, 2498- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา หัสพร ทองแดง |
คำสำคัญ: | การสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพ การสื่อสารทางการแพทย์ เบาหวาน--การป้องกันและควบคุม การปรับพฤติกรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการสื่อสารในการรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2) กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ของชุมชนพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนหอม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนครการวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึงโครงสร้าง เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง จากผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสื่อสารรณรงค์ในประเด็นและพื้นที่ดังกล่าว ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนหอม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลโนนหอม พยาบาลผู้รับผิดชอบงานโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลโนนหอม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน รวมทั้งหมด 26 คนและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสื่อสารในการรณรงค์ ประกอบด้วย (1) ผู้ส่งสาร กลุ่มผู้บริหารคือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน คือ พยาบาลรับผิดชอบงานโรคเรื้อรัง อาสาสมัครสาธารณสุข และกลุ่มประชาชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง (2) สาร คือ การแจ้งนโยบาย การให้คำปรึกษา การให้แนวทางการปฏิบัติงานและให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคการอบรมให้ความรู้ ให้คำปรึกษาสุขภาพ ข้อมูลเกี่ยวกับโรค (3) ช่องทาง คือ หนังสือสั่งการ หนังสือราชการการแจ้งแนวทางการปฏิบัติงาน ประชุมปรึกษาหารือ บอร์ดประชาสัมพันธ์ข่าวสารหมู่บ้าน การประชุมปรึกษาหารือในกลุ่มย่อย คู่มือ เอกสารแผ่นพับความรู้ โทรศัพท์แจ้งข่าว หอกระจายข่าวหมู่บ้าน (4) ผู้รับสารคืออาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนกลุ่ม และประชาชนทั่วไป และพบว่า การสื่อสารผ่านตัวบุคคลหรือสื่อบุคคลเป็นการสื่อสารที่ประชาชนและกลุ่มเสี่ยงชื่นชอบมากที่สุด 2) กลยุทธ์การสื่อสาร ประกอบด้วย (1) กลยุทธ์การสร้างกระแสสังคมโดยการจัดมหกรรมสุขภาพเพื่อสร้างความตระหนักให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวานเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (2) กลยุทธ์การใช้สื่อบุคคล โดยใช้ผู้ป่วยเบาหวานในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและใช้อาสาสมัครสาธารณสุขในการดูแลให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง (3) กลยุทธ์การกำหนดนโยบายแผนงานลงสู่ประชาชน ได้แก่ การสร้างกระแสสังคม การพัฒนาศักยภาพชุมชน การเน้นพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุข การออกคัดกรองสุขภาพเชิงรุก และการจัดตั้งธรรมนูญสุขภาพตำบล |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12936 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Comm-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.83 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License