กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12937
ชื่อเรื่อง: | การรู้เท่าทันสื่อเฟซบุ๊กของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Facebook literacy of Chiang Mai Rajabhat University students |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปิยฉัตร ล้อมชวการ ศรวัสย์ สมสวัสดิ์, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา กมลรัฐ อินทรทัศน์ |
คำสำคัญ: | การรู้เท่าทันสื่อ การรู้เท่าทันสื่ออินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ค |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้สื่อเฟซบุ๊กของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2) การรู้เท่าทันสื่อเฟซบุ๊กของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อเฟซบุ๊กกับการรู้เท่าทันสื่อเฟซบุ๊กของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ชั้นปีที่ 1-4 เฉพาะที่ใช้งานสื่อเฟซบุ๊ก โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 400 คนเครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการใช้สื่อเฟซบุ๊กของกลุ่มตัวอย่างมีการใช้ทุกวัน ระยะเวลาการใช้เฉลี่ย 4-5 ชั่วโมงต่อวัน เวลาที่ใช้ประมาณช่วง 18.01-21.00 น. และในช่วงเวลาก่อนนอน สถานที่ที่ใช้มากที่สุด คือ ใช้ที่บ้าน วัตถุประสงค์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การเรียนการสอน โดยกลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลในการใช้สื่อเฟซบุ๊กมากที่สุด2) การรู้เท่าทันสื่อสื่อเฟซบุ๊ก ได้แก่ ทักษะการวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างสามารถวิเคราะห์และไตร่ตรองอย่างรอบด้านก่อนที่จะโพสต์แสดงความคิดเห็นในข้อเสนอแนะหรือวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเนื้อหาต่างๆ ในสื่อเฟซบุ๊กได้อย่างเหมาะสม และทักษะการประเมินเนื้อหาสารกลุ่มตัวอย่างสามารถใช้ประสบการณ์ในการพิจารณาข้อมูลที่ได้รับก่อนกดถูกใจ หรือส่งต่อให้ผู้อื่นรองลงมา ได้แก่ ทักษะการเข้าถึง กลุ่มตัวอย่างสามารถเลือกใช้สื่อเฟซบุ๊กเพื่อเข้าถึงเนื้อหาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ทักษะการมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างสามารถพูดคุยกับผู้อื่นผ่านสื่อเฟซบุ๊กในเชิงที่สร้างสรรค์และทักษะการสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างสามารถนำเสนอเนื้อหาต่างๆ ในสื่อเฟซบุ๊กบนพื้นฐานของความรับผิดชอบและจริยธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อเฟซบุ๊กกับการรู้เท่าทันสื่อเฟซบุ๊ก พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างระดับความบ่อยมีความสัมพันธ์กับการรับรู้เท่าทันสื่อเฟซบุ๊กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และพบว่าระยะเวลา ช่วงเวลา สถานที่วัตถุประสงค์ ในการใช้สื่อเฟซบุ๊กไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้เท่าทันสื่อเฟซบุ๊ก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (การบูรณาการการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12937 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Comm-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.63 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License