กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12938
ชื่อเรื่อง: การเล่าเรื่องข้ามสื่อเพื่อสร้างความเข้าใจคนพิการทางการเห็น กรณีศึกษาละคร ในโครงการ Drama for All เรื่อง ความทรงจำใหม่หัวใจเดิม ของไทยพีบีเอส
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Trans-media storytelling to create understanding of the visually impaired: a case study of the “Kwam Sohngjum Mai Hua Jai Derm” program in Thai Public Broadcasting Service’s “Drama for All” Project
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สันทัด ทองรินทร์
ธารินี อินทรนันท์, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
มนวิภา วงรุจิระ
คำสำคัญ: คนพิการทางการมองเห็น --วิธีสื่อสาร
รายการโทรทัศน์
การเล่าเรื่อง
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวคิดวิธีการเล่าเรื่องข้ามสื่อสำหรับสร้างความเข้าใจคนพิการทางการเห็น 2) กลยุทธ์การสร้างสรรค์เนื้อหาข้ามสื่อสำหรับสร้างความเข้าใจคนพิการทางการเห็นของละครในโครงการ Drama for AIl เรื่อง ความทรงจำใหม่หัวใจเดิม ของไทยพีบีเอส 3) แนวทางการพัฒนาการเล่าเรื่องข้ามสื่อสำหรับสร้างความเข้าใจคนพิการทางการเห็น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหาละคร จำนวน 2 ตอน และการเล่าเรื่องข้ามสื่อจำนวน 18 ชิ้นงาน และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตละครและการเล่าเรื่องข้ามสื่อของละครในโครงการDrama for AIl เรื่อง "ความทรงจำใหม่หัวใจเดิม" ของไทยพีบีเอส จำนวน 5 คน และผู้ชมทั่วไปละครในโครงการ Drama for AIl เรื่อง "ความทรงจำใหม่หัวใจเดิม" ของไทยพีบีเอส รวมจำนวน 5 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบวิเคราะห์เนื้อหาและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดหมวดหมู่เนื้อหาและการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) แนวคิดวิธีการเล่าเรื่องข้ามสื่อของละครดังกล่าว เน้นออกแบบละครในสื่อหลักให้มีคุณภาพก่อนสื่ออื่น และผู้ผลิตสื่อต้องมีความเข้าใจเนื้อหาทั้งหมด 2) กลยุทธ์การสร้างสรรค์เนื้อหาข้ามสื่อของละครดังกล่าว แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ กระบวนการก่อนการสร้างสรรค์สื่อ คือ ต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคนพิการผู้ผลิตต้องชมละครทั้งเรื่องเพื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่องอย่างละเอียด จากนั้นคัดเลือกประเด็นที่สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการทางการเห็นและเป็นประโยชน์ต่อสังคม แล้วจึงวางแผนการเผยแพร่สื่อตามช่วงเวลาที่เหมาะสม ส่วนขั้นตอนการผลิตสื่อจะเริ่มต้นจากการออกแบบวิธีการ ออกแบบเนื้อเรื่อง แล้วจึงค่อยวางแผน ในการเอาส่วนของเนื้อเรื่องมาใช้ในการส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการต่อไปเป็นคลิปสั้นๆ โดยเน้นการใช้ผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้หรืออธิบายเพิ่มเติมเพื่อขยายความ โดยการออกแบบสื่อต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของแต่ละแพลตฟอร์ม รวมถึงเลือกใช้ภาพ และตัวหนังสือเด่นๆ เพื่อดึงดูดความสนใจ ส่วนกระบวนการหลังการผลิตสื่อ จะเน้นการเผยแพร่เป็นคลิปวิดีโอเป็นหลัก โดยเน้นเผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊กและยูทูบ 3) แนวทางการพัฒนาการเล่าเรื่องข้ามสื่อสำหรับสร้างความเข้าใจคนพิการทางการเห็นคือ การให้ผู้ปฏิบัติงานทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรวางแผนร่วมตั้งแต่ต้นทาง โดยควรออกแบบเนื้อหาให้ดีและถูกต้องตั้งแต่บทละคร รวมไปถึงการเล่าเรื่องแบบ ข้ามสื่อไว้ทั้งหมดตั้งแต่ต้น รวมไปถึงควรมีสื่ออำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ผู้ผลิตสื่อควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับคนพิการที่ถูกต้อง และควรทำให้ผู้ชมทั่วไปได้ประโยชน์ ไม่ควรนำเสนอแบบยัดเยียดความเข้าใจ ควรทำให้คนคุ้นเคยกับความหลากหลาย และควรสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้คนพิการ ในข้อเท็จจริงตามยุคสมัยใหม่ มีการขยายความเล่าเรื่องข้ามสื่อออกไปให้มากกว่าเนื้อหาของละคร โดยเน้นสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นความรู้ทั้งกับคนพิการทางการเห็นและคนทั่วไป นำเสนอในรูปแบบบันเทิง นอกเหนือจากนี้ยังควรสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจให้คนกลุ่มอื่นในสังคม เพราะมีความแตกต่างหลากหลาย อีกทั้งยังควรขยายแพลตฟอร์มการเล่าเรื่องข้ามสื่อมากกว่าสื่อออนไลน์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (การบริหารกิจการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12938
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons