กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12945
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการทำงานเป็นทีมเพื่อพัฒนาการปรับตัวทางสัมพันธภาพกับเพื่อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปัว จังหวัดน่าน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of using a guidance activities package based on teamwork to improve the relationships among friends of grade 10 students at Pua School in Nan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัลภา สบายยิ่ง
ตรีธีระ เทพจินดา, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นิรนาท แสนสา
คำสำคัญ: การทำงานเป็นทีม
การปรับตัว (จิตวิทยา) ในวัยรุ่น
การแนะแนว--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบการปรับตัวทางสัมพันธภาพกับเพื่อนของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการทำงานเป็นทีม (2) เปรียบเทียบการปรับตัวทางสัมพันธภาพกับเพื่อนของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการทำงานเป็นทีมและของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวปกติ และ (3) ศึกษาความพึงพอใจและข้อเสนอแนะต่อการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 80 คนใน 2 ห้องเรียนของโรงเรียนปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 40 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการทำงานเป็นทีมเพื่อพัฒนาการปรับตัวทางสัมพันธภาพกับเพื่อน จำนวน 12กิจกรรม (2) แบบวัดการปรับตัวทางสัมพันธภาพกับเพื่อน และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจและข้อเสนอแนะต่อการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) หลังใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการทำงานเป็นทีม นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนการปรับตัวทางสัมพันธภาพกับเพื่อนสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวมีคะแนนการปรับตัวทางสัมพันธภาพกับเพื่อนสูงกว่าของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะต่อการใช้ชุดกิจกรรมคือ 1) เป็นกิจกรรมที่ดีสามารถนำมาใช้ได้จริงเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อน 2) บางกิจกรรมให้เวลาน้อยไม่เพียงพอต่อการทำกิจกรรม และ 3) ควรสำเนาเอกสารเป็นภาพสีเพื่อจะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12945
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons