กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12947
ชื่อเรื่อง: | ผลการจัดการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ กรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of instruction emphasizing on scientific competencies in the topic of chemical reaction on scientific learning achievement and scientific competencies of grade 9 students at Setthabut Bamphen School in Bangkok Metropolis |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ จิตสุภา ฤกษ์อำนวยชัย, 2534- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ดวงเดือน สุวรรณจินดา |
คำสำคัญ: | วิทยาศาสตร์--กิจกรรมการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ไทย--กรุงเทพฯ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน--วิทยาศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์กับแบบปกติ 2) เปรียบเทียบสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์กับแบบปกติ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เปรียบเทียบสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ กรุงเทพมหานคร ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 66 คน แล้วจับฉลากห้องเรียนเป็นกลุ่มทดลอง 34 คน และกลุ่มควบคุม 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี และแผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบปกติ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี และ 3) แบบวัดสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์และแบบปกติไม่แตกต่างกัน 2) สมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ มีคะแนนสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม (วิทยาศาสตร์ศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12947 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.08 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License