Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12976
Title: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดทฤษฎีของทอแรนซ์ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ในอาชีพอิสระของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง จังหวัดสุรินทร์
Other Titles: Effects of using a guidance activities packages based on the theory of creative torrance for the creative freelance of Mathayom Suksa III Students School Kakokrayong Surin
Authors: นิธิพัฒน์ เมฆขจร
ภัทรวดี มีแก้ว, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นิรนาท แสนสา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--วิทยานิพนธ์
การแนะแนวอาชีพ--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
อาชีพอิสระ
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ในอาชีพอิสระของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดทฤษฎีของทอแรนซ์ และ (2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ในอาชีพอิสระของนักเรียนกลุ่มทดลอง ระยะหลังการทดลองกับระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ชุดกิจกรรมแนะตามแนวคิดทฤษฎีของทอแรนซ์ ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ในอาชีพอิสระ จำนวน 12 ครั้ง และแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ในอาชีพอิสระ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวนักเรียนกลุ่มทดลองมีความคิดสร้างสรรค์ในอาชีพอิสระสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ในระยะติดตามผลกับระยะหลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองมีความคิดสร้างสรรค์ในอาชีพอิสระไม่แตกต่างกัน
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12976
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.46 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons