กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12979
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในจังหวัดกระบี่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting being learning organization of schools in Krabi Province under the Secondary Educational Service Area Office Trang Krabi |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์ นรีรัตน์ บุญเพชรแก้ว, 2535- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์ โรงเรียน--การบริหาร--ไทย--กระบี่ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในจังหวัดกระบี่ 2) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในจังหวัดกระบี่ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในจังหวัดกระบี่ และ 4) สร้างสมการทำนายปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในจังหวัดกระบี่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ จำนวน 269 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .84 และ .92 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) โรงเรียนมีความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ 1.1) การมีแบบแผนทางความคิด 1.2) ความสามารถในการคิดเชิงระบบ 1.3) ความสามารถในการเป็นบุคคลที่รอบรู้ 1.4) ความสามารถในการเรียนรู้ของทีม และ 1.5) ความสามารถในการมีวิสัยทัศน์ร่วม 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ 2.1) ภาวะผู้นำทางวิชาการ 2.2) การจูงใจ 2.3) โครงสร้างขององค์การ 2.4) วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ 2.5) เทคโนโลยี และ 2.6) วัฒนธรรมและบรรยากาศขององค์การ 3) การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน กับ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ วัฒนธรรมและบรรยากาศขององค์การ(X,) วิสัยทัศน์ พันธกิจ และ ยุทธศาสตร์(X4) และการจูงใจ(X2) ซึ่งสามารถพยากรณ์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนได้ร้อยละ 69.20 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12979 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.85 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License