กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12985
ชื่อเรื่อง: | ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ที่มีต่อความสามารถในการฟังพูดภาษาอังกฤษและแรงจูงใจในการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเวียงมอกวิทยา จังหวัดลำปาง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of using learning activities basing on brain-based approach on English listening-speaking ability of grade 7 students at Wiang Mok Wittaya School in Lampang Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ธนวรรณ เอมจั่น, 2536- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อารีรักษ์ มีแจ้ง |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--วิทยานิพนธ์ ภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ไทย--ลำปาง |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานกับเกณฑ์ และ 3) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเวียงมอกวิทยา จังหวัดลำปาง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 26 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน 2) แบบทดสอบความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ และ 3) แบบวัดแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) นักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12985 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.68 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License