กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13008
ชื่อเรื่อง: | การใช้สารสนเทศเพื่อการสอนและการวิจัยของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Information use for instruction and research by the faculty members at Rajabhat Universities in Southern Provinces |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ทัศนา หาญพล สุวภรณ์ อาญาพิทักษ์, 2535- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สรายุทธ ยหะกร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ สารสนเทศ--การศึกษาการใช้ อาจารย์มหาวิทยาลัย--การประเมิน |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการใช้สารสนเทศเพื่อการสอนและการวิจัยของคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ (2) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศเพื่อการสอนและการวิจัยของคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา คณะที่สังกัด และ (3) ศึกษาปัญหาการใช้สารสนเทศเพื่อการสอนและการวิจัยของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นคณาจารย์คณะครุศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ 5 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จำนวน 265 คน ได้รับแบบสอบถาม 209 ชุด คิดเป็นร้อยละ 78.87 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) คณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ ใช้สารสนเทศเพื่อการสอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คณาจารย์มีวัตถุประสงค์การใช้สารสนเทศเพื่อการสอนในระดับมาก คือ ด้านการเตรียมการสอน รองลงมาคือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการกำหนดเนื้อหาด้านการวางแผนการสอน และด้านการวัดผลประเมินผล ตามลำดับ คณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ใช้สารสนเทศเพื่อการวิจัยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คณาจารย์มีวัตถุประสงค์การใช้สารสนเทศเพื่อการวิจัยในระดับมาก คือ ด้านการเขียนอ้างอิง รองลงมาคือ ด้านการผลิตผลงานวิจัย และด้านการเผยแพร่งานวิจัย ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบการใช้สารสนเทศเพื่อการสอนของคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา ไม่มีความแตกต่างกัน ขณะที่คณะที่สังกัด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบการใช้สารสนเทศเพื่อการวิจัยของคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา และคณะที่สังกัด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือคณาจารย์เพศหญิงมีการใช้สารสนเทศเพื่อการวิจัยมากกว่าคณาจารย์เพศชาย คณาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกมีการใช้สารสนเทศเพื่อการวิจัยมากกว่าคณาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาโท คณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีการใช้สารสนเทศเพื่อการวิจัยมากกว่าคณาจารย์คณะครุศาสตร์ และ 3) ปัญหาการใช้สารสนเทศเพื่อการสอนและการวิจัย พบว่า ด้านทรัพยากรสารสนเทศ ทรัพยากรสารสนเทศมีจำนวนไม่เพียงพอ ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการขาดจิตบริการ ด้านสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก เครือข่ายอินเทอร์เน็ตขัดข้องบ่อยและด้านแหล่งให้บริการ (แหล่งสารสนเทศบุคคล) ผู้เชี่ยวชาญบางสาขามีจำนวนน้อย และเวลาเปิด-ปิดบริการของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศน้อยเกินไป |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13008 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Arts-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 34.31 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License