กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13016
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานส่วนกลางของกรมควบคุมโรค |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting the functional competencies of public health technical officers (professional Level) at central units under the Department of Disease Control |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธีระวุธ ธรรมกุล นลินทิพย์ ชูโชติแก้ว, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรางคณา จันทร์คง |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--วิทยานิพนธ์ กรมควบคุมโรค--ข้าราชการและพนักงาน--ความพอใจในการทำงาน การจูงใจในการทำงาน บุคลากรสาธารณสุข--ความพอใจในการทำงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล สมรรถนะประจำกลุ่มงาน และปัจจัยการเสริมพลังอำนาจในงาน (2) อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการเสริมพลังอำนาจต่อสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานส่วนกลางของกรมควบคุมโรค และ (3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานส่วนกลางของกรมควบคุมโรค ประชากรที่ศึกษา คือ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานส่วนกลางของกรมควบคุมโรค จำนวน 103 คน โดยเก็บข้อมูลทุกหน่วยประชากร เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามการวิจัย ที่มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.872 โดยให้นักวิชาการสาธารณสุข เป็นผู้ประเมินตนเอง สถิติที่ใช้ คือความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า (1) นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 44.7 ปี มีสถานภาพโสด จบปริญญาโท มีอัตราเงินเดือนเฉลี่ย 37,458 บาท/เดือน มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานในตำแหน่งเฉลี่ย 9.7 ปี มีสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการในภาพรวมอยู่ในระดับสูง สมรรถนะด้านที่ค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การสั่งการตามอำนาจหน้าที่ส่วนปัจจัยการเสริมพลังอำนาจโดยรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ยกเว้นด้านการได้รับทรัพยากรอยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีค่าในการทำนายร้อยละ 16.5 คือ การเสริมพลังอำนาจด้านการได้รับข้อมูลข่าวสาร และ (3) ปัญหาอุปสรรค ได้แก่ ส่วนใหญ่ยังมีสมรรถนะในการสร้างเงื่อนไขเพื่อให้ผู้อื่นปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบน้อย ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรจัดอบรมหลักสูตรด้านกลไกการบังคับใช้กฎหมาย จัดสรรเวลาสำหรับการวิจัย พัฒนาวิชาการและนวัตกรรมให้กับนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ และจัดสรรบุคลากรให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และสนับสนุนให้มีแหล่งความรู้ทางวิชาการที่ทันสมัย |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13016 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.75 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License